ความรู้

SINOVA 5TJ เซอร์กิตเบรกเกอร์ลูกย่อย

SINOVA 5TJ เซอร์กิตเบรกเกอร์ลูกย่อย

SINOVA 5TJ เซอร์กิตเบรกเกอร์ลูกย่อย ให้การป้องกันที่ครบถ้วนสมบูรณ์สำหรับการติดตั้งใช้งานเพื่อความปลอดภัยอย่างไม่มีใครเทียบ ด้วยการออกแบบที่เรียบง่ายที่สามารถรองรับฟังก์ชันการทำงานอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้ SINOVA 5TJ เป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับการใช้งานในอาคาร สาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐาน

Simply Efficient – ความเรียบง่าย ที่มาพร้อมประสิทธิภาพ มีคุณสมบัติดังนี้

การปกป้อง

ให้การปกป้องระบบงานของคุณที่มั่นคงปลอดภัยยิ่งขึ้น ด้วยความอุปกรณ์ที่รองรับวงจรขนาด 4.5 kA, 6 kA และ 10 kA

เป็นมิตรกับผู้ใช้

มีตัวเลือกวิธีการตัดวงจรที่ยืดหยุ่น – เลือกตัดวงจรทั้งในสายไฟแต่ละเส้นหรือในบัสบาร์แบบก้ามปูได้

ต้นทุนการทำงานต่ำ

ทำงานด้วยพลังงานระดับต่ำจึงทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย

ลูกเซอร์กิต หรือ เบรกเกอร์ลูกย่อย (Miniature Circuit Breaker)

                  เป็นเบรกเกอร์ขนาดเล็กมักใช้ในอาคาร ใช้ติดตั้งเป็นอุปกรณ์ป้องกันร่วมกับตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load center) หรือตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตในห้องพักอาศัย (Consumer unit) มีพิกัดกระแสลัดวงจรต่ำ เป็นเบรกเกอร์ชนิดที่ไม่สามารถปรับตั้งค่ากระแสตัดวงจรได้ และส่วนใหญ่จะอาศัยกลไกการปลดวงจรในรูปแบบ thermal และ magnetic

คุณลักษณะทั่วไป

                   สำหรับการเลือก MCB สำหรับใส่ในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตนั้น เราสามารถติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันนี้อยู่ 2 จุด ได้แก่ เป็นอุปกรณ์ป้องกันเมนหรือเมนเบรกเกอร์ และ วงจรย่อย ซึ่งที่จุดเมนเบรกเกอร์นั้นต้องเลือกค่ากระแสจากโหลดทั้งหมด โดยส่วนใหญ่แล้วจะอยู่ที่ประมาณ 100 A สำหรับ MCB ส่วนที่วงจรย่อยกระแสที่เลือกขึ้นอยู่กับโหลดแต่ละจุดที่ใช้งาน เช่น เป็นโหลดแสงสว่าง, โหลดเต้ารับ, โหลดเครื่องทำความเย็น และ โหลดเครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น    โดยหลักๆแล้วสิ่งที่ต้องคำนึงถึงก่อนการเลือกซื้อนั้นได้แก่  จำนวน pole, ค่า In, ค่า Icu, และ มาตรฐานต่างๆ เป็นต้น โดยที่ค่า In กระแสพิกัด คือ   ขนาดกระแสใช้งานสูงสุดที่เบรกเกอร์สามารถทนได้ในสภาวะใช้งานและสภาพแวดล้อมปกติ Icu คือ ขนาดกระแสลัดวงงจรสูงสุดที่เบรกเกอร์สามารถทนและยังสามรถตัดวงจรได้โดยไม่เกิดความเสียหายขึ้นกับตัวเบรกเกอร์เอง มักแสดงในรูปของ kA RMS

เซอร์กิตเบรกเกอร์ต่างจากคัทเอาท์อย่างไร

                ทุกวันนี้เราจะเห็นว่าเซอร์กิตเบรกเกอร์ถูกนำมาใช้แทนที่คัทเอาท์ (หรือสะพานไฟ) ที่ตัดไฟฟ้าด้วยมือโดยการใช้คันโยก ความยุ่งยากของคัทเอาท์คือเมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟช็อต เส้นตะกั่วที่เป็นตัวควบคุมจะละลายและขาดออกทำให้ต้องเปลี่ยนทั้งเส้นตะกั่วและกระบอกฟิวส์ก่อนที่จะใช้งานได้อีกครั้ง ดังนั้นบ้านใครยังใช้คัทเอาท์อยู่ก็แนะนำให้เปลี่ยนมาใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์ซึ่งสะดวกกว่ามาก เนื่องจากสามารถตัดวงจรไฟฟ้าแบบอัตโนมัติเมื่อเกิดความผิดปกติในระบบไฟฟ้าและสามารถปิดหรือต่อวงจรได้ทันทีหลังจากแก้ปัญหาความผิดปกติในระบบได้แล้ว ไม่ต้องทำการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่เหมือนกับคัทเอาท์

เซอร์กิตเบรกเกอร์ มีกี่ขนาด

               เซอร์กิตเบรกเกอร์มีหลายแบบ ทั้งขนาดเล็กที่ใช้สำหรับวงจรที่มีกระแสไฟฟ้าต่ำหรือพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน จนถึงสวิตช์ขนาดใหญ่สำหรับวงจรไฟฟ้าแรงสูงที่จ่ายไฟให้ตัวเมือง ถ้าแบ่งตามพิกัดแรงดันจะแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ

-เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ (Low Voltage)

-เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าปานกลาง (Medium Voltage)

-เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง (High Voltage)