“ขาดแคลนแรงงานจากต้นทุนแรงงานที่พุ่งสูงขึ้น”
“การบันทึกสถานะการทำงานด้วยการเขียนต้องใช้เวลาและมีความยุ่งยาก”
“ไม่สามารถทราบอัตราการทำงานของเครื่องและอัตราการผลิตของโรงงานทั้งหมดได้จากบันทึกการทำงานของเครื่องจักรแต่ละเครื่อง”
บริษัท PATLITE ขอแนะนำโซลูชัน “การทำให้มองเห็นหรือการแปลงให้เป็นภาพ” สำหรับโรงงานที่กำลังประสบกับปัญหาข้างต้น โดยในครั้งนี้ขอแนะนำ “MotionBoard” ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้งานข้อมูลโดยนำข้อมูลเหล่านั้นมาแสดงเป็นภาพ (Output) เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของโรงงานในภาพรวมทั้งหมด
ใช้ข้อมูลภาพในกิจกรรมไคเซ็น (Kaizen) ได้หรือไม่?
ในบทความที่แล้วเราได้อธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการสร้างโรงงานอัจฉริยะและในบทความนี้จะขอแนะนำซอฟต์แวร์ที่มีบทบาทสำคัญในกิจกรรมไคเซ็น
ขั้นตอนในการเปลี่ยนโรงงานธรรมดาให้กลายเป็นโรงงานอัจฉริยะ
1. ติดตั้งไฟสัญญาณในสถานที่ที่เหมาะสม
2. แสดงผลข้อมูลภาพที่เก็บรวบรวมไว้ (แปลงข้อมูลให้เป็นข้อมูลดิจิทัล)
3. ลดเวลาที่เครื่องจักรหยุดการทำงาน (Downtime) ให้น้อยลงที่สุด
4. แปลงข้อมูล Real time ที่เป็นรูปภาพให้กลายเป็นรายงานและนำไปสู่การพัฒนาแบบไคเซ็นหรือ กิจกรรมไคเซ็น
แม้ว่าจะมองเห็นข้อมูลการทำงานแต่หากไม่สามารถใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงสายการผลิตได้ ข้อมูลเหล่านั้นก็จะไม่เกิดประโยชน์ใดๆ อีกทั้งเมื่อนำเทคโนโลยี IoT มาใช้งานในโรงงานของประเทศไทยอาจจะก่อให้เกิดปัญหาหลายประการตามมา เช่น การติดตั้งซอฟต์แวร์และการส่งออกข้อมูล (การทำข้อมูลเป็นรายงาน) เป็นต้น
ตระหนักถึงการรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์สำหรับผู้ใช้งานทุกคนโดยไม่ต้องวุ่นวายกับการเชื่อมโยงข้อมูลและการประสาน การผนวก
MotionBoard มีคุณสมบัติเด่นดังต่อไปนี้
คุณลักษณะของ BI Dashboard “MotionBoard”
✔ สามารถรับรู้สถานะการทำงานตามเวลาจริงของแต่ละเครื่องได้อย่างรวดเร็วผ่านทาง Dashboard
✔ แจ้งเตือนพนักงานทันทีเมื่อเกิดปัญหา
✔ สามารถวิเคราะห์สาเหตุและแนวโน้มของปัญหาจากข้อมูลที่ได้รับมา (เช่น ข้อบกพร่องของเครื่องจักร, ความผันแปรของคุณภาพผลิตภัณฑ์)
✔ อัปเดตข้อมูลทั้งหมดให้เป็นค่าที่เหมาะสมอย่างโดยอัตโนมัติซึ่งสามารถทำได้โดยเปลี่ยนค่าในฐานข้อมูลเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนการผลิต
✔ รองรับการใช้งานกับอุปกรณ์ต่างๆ โดยไม่จำกัดผู้ผลิต
✔ สามารถสร้างรายงานในรูปแบบ Excel และ CSV ได้อย่างง่ายดาย
✔ รองรับการติดตั้งซอฟต์แวร์ในขั้นตอนเริ่มต้นพร้อมกับให้การอบรมการใช้งานในไลน์การผลิต
▲ตัวอย่างหน้าจอแสดงสถานะการทำงานของเครื่องจักร
แม้จะอยู่ในโรงงานเดียวกันแต่เครื่องมือที่ใช้ เช่น เครื่องจักร กล้อง เครื่องสแกน มักจะมีความแตกต่างกันในด้านต่างๆ เช่น แบรนด์ผู้ผลิต ลักษณะเฉพาะในการใช้งานและจำนวนปีที่เริ่มใช้งาน เป็นต้น โดยเฉพาะเครื่องจักรที่ใช้งานก่อนปี 2560 มักจะไม่รองรับการใช้งานร่วมกับระบบ IoT แต่ “MotionBoard” จะช่วยให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างราบรื่นแม้ว่าจะมีความแตกต่างด้านเงื่อนไขเฉพาะของเครื่องจักรก็สามารถดำเนินการได้อย่างไม่มีปัญหา โดยการเปลี่ยนแปลงข้อมูลตามแผนการผลิตจะได้รับการอัปเดตอย่างอัตโนมัติเพียงแค่ผู้ใช้งานอัปเดตข้อมูลแค่หนึ่งครั้ง นอกจากนี้ ในโรงงานที่คำนึงถึงอัตราการทำงานของเครื่องจักรอุปกรณ์นี้จะช่วยให้สามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อีกทั้ง เนื่องจากข้อมูลที่ได้รับสามารถแปลงเป็นข้อมูลแดชบอร์ดและส่งออกเป็นรายงานได้ ผู้ใช้งานทุกคนจึงสามารถสร้างตาราง วิเคราะห์และปรับแต่งได้อย่างง่ายดาย
รองรับการติดตั้งในขั้นตอนเริ่มต้นไปจนถึงการใช้งานในสายการผลิต
มีลูกค้าหลายแห่งได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับความซับซ้อนของการติดตั้ง เนื่องจากมีอุปกรณ์ที่ต้องเชื่อมต่อจำนวนมากและเพื่อขจัดข้อกังวลเหล่านั้นเราจึงได้ให้การรองรับตั้งแต่ขั้นตอนจัดเตรียมอุปกรณ์เบื้องต้นและการอบรมด้านการใช้งานสำหรับผู้ใช้งานในไลน์การผลิต นอกจากนี้ เรายังให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการสร้างข้อมูลตามความต้องการของลูกค้าที่ต้องการนำข้อมูลเหล่านั้นมาจัดทำรายงานอีกด้วย
กล่าวได้ว่าการใช้งาน “MotionBoard” จะช่วยให้ปลอดภัย เสถียร ง่ายและรวดเร็ว จึงเหมาะสำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานที่สามารถเห็นผลได้ในทันที
Link: https://www.youtube.com/watch?v=ARviKqaScmM