Contrast Sensor แตกต่างจาก Color sensor อย่างไร
ในการเช็คสีบนผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรม เรามักจะเจอเซนเซอร์ 2 แบบ คือ คอนทราสเซนเซอร์ (Contrast sensor) และ เซนเซอร์สี (Color sensor) เคยสงสัยกันมั้ยว่ามีหลักในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร และแต่ละแบบเหมาะสมกับงานประเภทไหน อย่างที่ทราบกัน คือ คอนทราสเซนเซอร์จะมีราคาที่ย่อมเยาว์กว่าเซนเซอร์สี แต่ก็ไม่สามารถนำมาใช้งานทดแทนเซนเซอร์สีได้อย่าง 100% ดังนั้น วันนี้เราจะมาทำความรู้จักเซนเซอร์ทั้งสองแบบกัน
คอนทราสเซนเซอร์ (Contrast sensor)
จะใช้หลักการของแสงตรวจจับความแตกต่างระหว่างสองสี โดยติดตั้งแบบตัวรับตัวส่งในตัว ซึ่งจะใช้ค่า gray values เป็นค่าในการจำแนกวัตถุ โดยไล่เฉดจากสีอ่อนที่สุดไปจนถึงสีเข้มที่สุด เมื่อค่าของสีเป้าหมายกับสีของพื้นหลังแตกต่างกันจะส่ง output ออกมา มีความเร็วในการทำงาน (Response times) สูงถึง 100 µs และความถี่ในการตรวจเช็ค (Switching frequency) สูงถึง 20kHz
คอนทราสเซนเซอร์จึงเหมาะกับงานที่ต้องการตรวจเช็คด้วยความเร็วสูง ไม่ต้องการความละเอียดมากนัก แต่มีข้อควรระวังว่าสีของวัตถุ, แสงสว่างหน้างานและความเงาของวัตถุมีผลต่อความแม่นยำของการวัดอย่างเป็นอย่างมาก
ตัวอย่างการนำไปใช้
- เช็คมาร์กบน label ในเครื่องจักรงานพิมพ์ฉลากสินค้า เพื่อ Trigger สั่งตัด หรือ พับชิ้นงาน
- เช็คตำแหน่งหยอดกาวในเครื่องจักรห่อสินค้า ก่อนจะนำมา wrap ห่อสินค้า
- เช็คตำแหน่งของบาร์โคดบนผลิตภัณฑ์ ในโรงงานยา, โรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์ หรือโรงงานอาหาร
- เช็คว่ามีหรือไม่มีการ seals พลาสติกปิดฝาขวดน้ำ
เซนเซอร์ประเภทนี้ ใช้หลักการของแสงตรวจจับติดตั้งแบบตัวรับตัวส่งในตัวเดียว ภายในเป็นเทคโนโลยี RGB (Red-แดง, Green-เขียว และ Blue-น้ำเงิน) ซึ่งเป็นแม่สีของแสงช่วยแยกความแตกต่างได้หลากหลายเฉดสี โดยเราจะเห็นเซนเซอร์ปล่อยแสงออกมาเป็นสีแดง, สีเขียว, หรือสีน้ำเงิน เพื่อวิเคราะห์สีเป้าหมายและแยกความแตกต่างระหว่างสีเป้าหมายกับพื้นหลังให้เหมาะสมที่สุด ทางผู้ใช้งานสามารสอนให้เซนเซอร์รู้จักสีและจดจำค่าที่ค้องการเก็บไว้ได้ด้วย
ในส่วนของความเร็วในการทำงาน (Response times) โดยทั่วไปอยู่ที่ 300 ms และความถี่ในการตรวจเช็ค (Switching frequency) โดยทั่วไปอยู่ที่ 500 Hz ด้วยเหตุนี้ เซนเซอร์สีจึงเหมาะกับงานที่มีความเร็วไลน์ผลิตไม่เร็วมากเพราะต้องการตรวจเช็คความละเอียดเพื่อแยกความแตกต่างของสีให้เหมาะสมที่สุด
ตัวอย่างการนำไปใช้
- เช็คแยกสีของฝาขวดน้ำ
- เช็คตำแหน่งของฉลากสินค้าที่มีสีสันหลากหลาย
- เช็คความแตกต่างของเฉดสีในงานสื่อสิ่งพิมพ์
บทสรุป
จากบทความข้างต้น หวังว่าจะเป็นอีกแนวทางในการเลือกเซนเซอร์ให้เหมาะสมกับหน้างาน และไม่เกินงบประมาณในการออกแบบและใช้งาน
นอกจากนี้เรายังต้องคำนึงถึงราคาและยี่ห้อของสินค้า ซึ่งจะการันตีถึงประสิทธิภาพอุปกรณ์และการรับประกันหลังการขายที่เชื่อถือได้ ทางเจดับบลิวเทคเอง ขออนุญาตแนะนำเซนเซอร์ยี่ห้อ BALLUFF ไว้เป็นอีกหนึ่งทาง เลือกในการใช้งาน
สนใจสั่งซื้อหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ admin_sensor@jwtech.co.th, info@jwtech.co.th โทร. 02-733-7703