ความรู้

Proximity sensors

SICK Sensor

Proximity sensors

เป็นเซนเซอร์ มาตรฐานระดับสากลนำเข้ามาจากจากประเทศเยอรมัน วันนี้จะแนะนำในส่วน Proximity sensors  รวมถึงเรามี solutions ที่นำเอาเทคโนโลยีของ SICK Sensor เหล่านี้เพื่อมาตอบโจทย์ลูกค้าได้หลากหลายมากขึ้น ทำให้ SICK Sensor จึงตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้ทุกรูปแบบ

Inductive proximity sensors รุ่น IMM Series
                ในส่วนของรุ่น IMM Series ออกแบบมาให้ใช้ประสิทธิภาพสูงสุดในพื้นที่ที่จำกัด ด้วยการลดขนาดลงอย่างมาก และไปเพิ่มระยะการตรวจจับเป็น 3 เท่า สูงสุด 6 มม. รุ่น IMM จึงสามารถตรวจจับวัตถุด้วยระยะที่ไกลกว่าที่เคย ซึ่งบอดี้ที่มีขนาดเล็ก น้ำหนักจึงเบา และสามารถทำงานได้รวดเร็วและแม่นยำ ทำให้เซ็นเซอร์ IMM จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับงานที่มีการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงหรือใช้ในตรวจสอบช่วงไลน์ผลิตที่มีการประกอบชิ้นงาน อีกทั้งเทคโนโลยี ASIC ที่ล้ำสมัยช่วยให้สามารถผสานรูปแบบการทำงานและการแสดงผลได้ดีพร้อมทั้งมีการสื่อสารผ่าน IO-Link เวอร์ชัน 1.1 ซึ่งช่วยประหยัดเวลาในการตั้งค่าการทำงาน, ลดข้อผิดพลาดในการติดตั้ง และเปลี่ยนเซ็นเซอร์ให้เป็นผู้ส่งข้อมูลให้เป็นระบบอัตโนมัติสำหรับอนาคตไปพร้อมกัน

คุณสมบัติ

• ขนาด:  มี 2 แบบ คือ เกลียวหัวน็อตขนาด M4 และ M5 กับ เกลียวทรงกระบอกหัวเรียบขนาด Ø 3 mm, Ø 4 mm และ Ø 6.5 mm

• ระยะการตรวจจับ:  ตั้งแต่ 0.6 mm ถึง 6 mm

• รูปแบบการต่อสาย: DC, 3 สาย

• มาตรฐานการป้องกัน: IP67

• อุณหภูมิการทำงาน:  –25 °C to +70 °C

• ตัวเรือนทำจากสเตนเลสสตีลที่ทนทาน และหน้าสัมผัสทำจากพลาสติก

• ปรับระยะตรวจจับได้ 3 ระดับ (3-fold sensing ranges), การแสดงผลการทำงานด้วย LED (Visual adjustment indicator), การสื่อสารผ่าน IO-Link

ข้อดีของการใช้งาน
1. ประหยัดพื้นที่ติดตั้ง ด้วยขนาดที่กะทัดรัดทำให้มีความยืดหยุ่นในการออกแบบเครื่องจักร สำหรับเซ็นเซอร์ IMM มีความยาวบอดี้สั้นที่สุดเพียง 12 มม. และมีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 3 มม ส่วนระยะตรวจจับที่ไกล สามารถทดแทนเซ็นเซอร์ขนาด M8, M12 ได้เลย

2. ตรวจสอบตำแหน่งได้ละเอียด และแม่นยำสูง สามารถเชื่อถือได้ เหมาะกับงานที่มีการเคลื่อนที่รวดเร็วหรืองานประกอบชิ้นงานที่ต้องการความแม่นยำสูง หรือ ชิ้นงานที่มีขนาดเล็ก

3. การทำงานมีความเสถียรและปรับระยะตรวจจับได้ 3 ระดับ

4. มีการสื่อสารผ่าน IO-Link

5. การแสดงผลการทำงานด้วย LED (Visual adjustment indicator)

6. เซ็นเซอร์มีน้ำหนักเบา หากติดตั้งบนแขนโรบอทหรืออุปกรณ์ที่มีการเคลื่อนที่ด้วยความไวสูง ทำงานได้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างการนำไปใช้งาน

  • การตรวจจับการหยิบจับประกอบ เช่น การหยิบวางลงตำแหน่งที่ต้องการ
  • การตรวจจับลูกคลื่นขนาดเล็ก เช่น การตรวจสอบความเร็วของมอเตอร์, ตรวจจับทิศทางการการเคลื่อนไหวชิ้นงาน
  • การตรวจจับตำแหน่งของแกนหมุนและตัวเปลี่ยนชิ้นงาน CNC
  • การตรวจจับขั้นตอนการส่งผ่านชิ้นงาน เช่น การตรวจจับชิ้นงานที่มีส่วนประกอบขนาดเล็ก, การตรวจนับชิ้นงาน
  • การตรวจจับกริปเปอร์ เช่น การตรวจจับตำแหน่งของกริปเปอร์ว่าเปิดหรือปิด, ตรวจจับการทำงานแบบเส้นตรงหรือการหมุนของกริปเปอร์