ความรู้

มารู้จัก Thermal Overload Relay กันเถอะ

ทั่วๆไปแล้วโอเวอร์โหลดรีเลย์นิยมทำเป็นแบบไบมีทอล โดยใช้กระแสที่ไหลผ่านโหลดเป็นตัวควบคุมอีกทีหนึ่ง การตัดวงจรอาศัยการงอของไบมีทอลขณะร้อนเนื่องจากกระแสไหลมาก และจะกลับมาต่อวงจรอีกครั้งเมื่อไบมีทอลเย็นตัวลง Overload Relay หรือ Protective Motor Relay แบ่งโดยทั่วไปแล้ว มีแบบธรรมดา คือ เมื่องอไปแล้วจะกลับมาอยู่ตำแหน่งเดิมเมื่อเย็นตัวเหมือนในเตารีด กับแบบที่มี Reset คือเมื่อตัดวงจรไปแล้ว คอนแทคจะถูกล็อคเอาไว้ ถ้าต้องการจะให้วงจรทำงานอีกครั้ง ทำได้โดยการกดปุ่ม Reset ให้คอนแทคกลับมาต่อวงจรเหมือนเดิม

Overload Relay Eaton รุ่น ZB

โดยทั่วไปโอเวอร์โหลดรีเลย์จะมีย่านให้ปรับขนาดกระแสได้เช่น 11…..15A, 30…..45A, โดยใช้ไขควงหมุนที่ปุ่มปรับกระแสโดยให้ขนาดกระแสที่ต้องการอยู่ตรงกับจุดเทียบมอเตอร์สตาร์ทตรงตั้งเท่ากับขนาดกระแสพิกัด

การเลือกใช้งาน Overload Relay

  1. การใช้งานมอเตอร์ ซึ่งแบ่งตามช่วงเวลาการเริ่มเดินของมอเตอร์ ตามมาตรฐาน IEC มีการแบ่งชั้น (Class) ของโอเวอร์โหลดรีเลย์ชนิดความร้อน เป็นชั้นต่างๆเพื่อให้เหมาะสมกับวิธีการเริ่มเดินมอเตอร์และโหลดที่ใช้งานแบ่งตามชั้นได้ดังนี้

Class 10 ช่วงเวลาการเริ่มเดินไม่เกิน 10 วินาที
Class 20 ช่วงเวลาการเริ่มเดินไม่เกิน 20 วินาที
Class 30 ช่วงเวลาการเริ่มเดินไม่เกิน 30 วินาที

การเลือกใช้งานควรเลือกชั้นที่ต่ำที่สุด คือ Class 10 เพื่อป้องกันมอเตอร์เสียหายได้เร็วที่สุด

  • ช่วงปรับตั้งกระแสโหลดเกินหรือกระแสโอเวอร์โหลด
  • การรีเซ็ตหลังจากปลดวงจร
  • การติดตั้ง

    ตัวอย่างรุ่นตารางการเลือกใช้งาน Overload Relay Eaton รุ่น ZB

นอกจากนี้เรายังต้องคำนึงถึงราคาและยี่ห้อของสินค้า ซึ่งจะการันตีถึงประสิทธิภาพอุปกรณ์และการรับประกันหลังการขายที่เชื่อถือได้ ทางเจดับบลิวเทคเอง ขออนุญาตแนะนำ Overload Relay Eaton รุ่น ZB ไว้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการใช้งาน

สนใจสั่งซื้อหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
บริษัท เจดับบลิวเทค จำกัด (สำนักงานใหญ่)
226 ซอยศูนย์การค้าแฮปปี้แลนด์ 1 แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย 10240
Tel: (662) 733 7702 (Auto) Fax: (662) 733 7703
Email : info@jwtech