ความรู้

เลเซอร์ มาร์กเกอร์ (Laser Marker)

เลเซอร์ มาร์กเกอร์ (Laser Marker)

จากบทความที่แล้วหวังว่าคงจะได้รู้จักกับ เลเซอร์ มาร์กเกอร์ ได้ไม่มากก็น้อย สำหรับบทความนี้จะมีอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบของการการมาร์กด้วยเลเซอร์

มาร์กเกอร์

รูปแบบของการมาร์กด้วยเลเซอร์

  1. Annealing (การหลอม)

เป็นเทคนิคการทำเครื่องหมายที่ใช้การฉายรังสีเลเซอร์เพื่อทำให้เกิดความร้อน ออกซิเดชั่นเฉพาะที่ โดยกระบวนการนี้จะสร้างรอยดำถาวรที่ลบไม่ออก และปราศจากรอยแตก การหดตัว หรือ รอยขุขระ โดยทั่วไปมักจะเจาะลึกลงไปในผิวโลหะ 20 ถึง 30 µm  กระบวนการหลอมนี้จะสามารถป้องกันการกัดกร่อนจาก กรด solvent หรือของมีคมและทนต่อการทดสอบโดยวิธีพ่นเกลือ วิธีการนี้เหมาะสำหรับการใช้งานอุปกรณ์ทางการแพทย์

วัสดุที่เหมาะกับวิธีการนี้ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้า ไทเทเนียม

2. Engraving (แกะสลัก)

 ในการแกะสลักหรือเรียกอีกอย่างว่า “การมาร์กร่องลึก” ด้วยเลเซอร์ ลำแสงเลเซอร์จะทำให้วัสดุชิ้นงานได้รับความร้อนจนทำให้เกิดการระเหยในจุดที่ได้รับความร้อนจะทำให้เกิดร่องรอยการแกะสลักขึ้นบนวัสดุนั้น ความลึกของการแกะสลักนี้จะประมาณ 0,1 มม. ถึง 5 มม.จะขึ้นอยู่กับกำลังวัตต์ ความเร็ว จำนวนรอบที่ใช้ และเครื่องที่มีฟังก์ชั่น 3D เลเซอร์ที่เหมาะสำหรับการแกะสลักคือ ไฟเบอร์, YAG, CO2

วัสดุที่เหมาะกับวิธีการนี้ได้แก่ โลหะ เทอร์โมพลาสติก กระดาษ ไม้ ออร์แกนิก

3. Surface etching (การแกะสลักพื้นผิว/กัดเป็นร่อง)

เป็นการใช้การฉายรังสีเลเซอร์เพื่อปรับเปลี่ยนผิวที่เคลือบบนโลหะเพียงเล็กน้อย ความลึกของการเจาะมักจะไม่เกิน 0.01 มม. การแกะสลักด้วยเลเซอร์มักจะนิยมใช้ความเร็วสูงในการทำเครื่องหมาย

วัสดุที่เหมาะกับวิธีการนี้ได้แก่ โลหะ

4. Coating ablation /Paint stripping (การลอกผิว/ ลอกสี)

เป็นกระบวนการทำเครื่องหมายโดยการลอกชั้นที่เคลือบสีบางส่วนหรือทั้งหมดออกซึ่งทำให้สีที่ลอกออกมาจะตัดกับวัสดุที่เคลือบ กระบวนการนี้เป็นที่นิยมสำหรับการทำเครื่องหมายบนปุ่มแบ็คไลท์ “กลางคืนและกลางวัน” ในอุตสาหกรรมยานยนต์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และมือถือ เป็นต้น

วัสดุที่เหมาะกับวิธีการนี้ได้แก่ วัสดุใด ๆ ก็ได้ที่มีการเคลือบผิว ขึ้นอยู่กับการเคลือบ

5. Foaming (การทำให้เกิดฟอง)

เนื่องจากการดูดซับเลเซอร์และการค่อย ๆ ให้ความร้อนต่ำลงบนชิ้นงานจนกระทั่งอุณหภูมิเพิ่มขึ้นถึงจุดหลอมเหลว จะทำให้เกิดฟองก๊าซขนาดเล็กปรากฏบนวัสดุซึ่งจะเพิ่มปริมาตรทำให้เกิดฟองก๊าซบนพลาสติกนั้น โดยพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนรูปร่างจะ สว่างกว่าวัสดุรอบ ๆ บริเวณนั้น  โดยทั่วไปกระบวนการนี้จะใช้เลเซอร์เพื่อเพิ่มความคมชัดและความน่าเชื่อถือของกระบวนการทำเครื่องหมาย กระบวนการนี้ มักสัมผัสได้แต่เกิดรอยขีดข่วนได้ง่าย

วัสดุที่เหมาะกับวิธีการนี้ได้แก่ เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) เป็นพลาสติกที่สามารถเปลี่ยนรูปร่างได้ตามอุณหภูมิ

ทางบริษัทขอนำเสนอ UV Laser marker ยี่ห้อ DATALOGIC รุ่น VLASE UV 3 เป็นรุ่นหนึ่งที่อยู่ในตระกูลของ VLASE เป็นเลเซอร์มาร์กเกอร์แสงม่วงที่มีความยาวคลื่น 355 nm ซึ่งเป็นความยาวคลื่นเท่ากับหนึ่งในสามของ Fiber Laser Maker

คุณสมบัติของ VLASE UV

  • DPSS LASER MARKERS @ 355 nm  (Diode-Pumped Solid State)
  • ให้พลังงานสูง
  • Power output : 3W
  • สามารถมาร์ก หยุดอยู่กับที่ งานที่มีการหมุน และงานแบบเคลื่อนที่ ได้
  • การเชื่อมต่อเป็นแบบ Ethernet, RS 232, USB
  • กินไฟน้อย 600W
  • มีแสงมองตำแหน่งก่อนยิง
  • ระบายความร้อนด้วยอากาศ

ชิ้นงานที่เหมาะสม ได้แก่ ไพลิน, แก้ว, เพชร, ซิลิโคน, PE, HDPE (High Density Polyethylene), เซรามิก, อลูมินา,

และวัสดุละเอียดอ่อนอื่น ๆ

ส่วนรูปแบบที่เหลือให้ติดตามในบทต่อไป