ความรู้

Photoelectric Sensors เลือกยังไงให้ปังและเป๊ะเว่อร์

Photoelectric Sensors เลือกยังไงให้ปังและเป๊ะเว่อร์

                Photo Sensors คือ การใช้แสงในการตรวจจับ โดยเป็นเซ็นเซอร์ที่ใช้หลักการสะท้อน และ หักเห ของแสง จาก Emitter(ตัวส่ง) สู่ Receiver(ตัวรับ) ทำให้เกิดการส่งสัญญาณเอ้าท์พุตออกไป เมื่อมีวัตถุมาขวางตัวรับและตัวส่ง

เราสามารถแบ่งการทำงานของ Photo Sensors ได้เป็น 3 ประเภท คือ

  1. Through Beam Photoelectric sensors

โฟโตอิเล็กทริคเซนเซอร์ชนิด Through Beam จะปล่อยลำแสง ทั้งแบบที่มองเห็นได้และแบบอินฟราเรด ระหว่าง Emitter(ตัวส่ง) และ Receiver(ตัวรับ)

  • ลำแสงแบบมองเห็นได้ (Visible Light) มีทั้งชนิดที่เป็น เหมาะสำหรับการตรวจจับระยะไม่ไกลมาก เน้นใช้กับงานที่ต้องการความแม่นยำสูง
  • แสงที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (Non Visible Light) นิยมเป็นแบบ อินฟาเรด จุดเด่นของตัวนี้คือ สามารถตรวจจับได้ระยะไกล

เป็นรูปแบบที่ใช้เซ็นเซอร์คู่กับแผ่นสะท้อน โดยมี Emitter และ Receiver ในตัวเดียวกัน โดยติดแผ่นสะท้อนตรงข้ามกับเซ็นเซอร์ เมื่อลำแสงเจอกับแผ่นสะท้อน และสะท้อนกลับมาที่ตัวรับ เมื่อมีวัตถุวิ่งผ่านจึงส่งสัญญาณเอ้าท์พุตออกมา

สำหรับ Retro-reflective Photoelectric sensors เหมาะสำหรับจับงานที่เป็นวัตถุโปร่งใส

  • Diffuse-reflective Photoelectric Sensors

เป็นเซ็นเซอร์ที่อาศัยการสะท้อนกลับจากลำแสงที่ปล่อยออกจากตัวเซ็นเซอร์เมื่อมีวัตถุผ่านหน้าจะสะท้อนกลับมาที่ตัวรับและส่งสัญญาณเอ้าท์พุต

รูปแบบเอ้าท์พุต

เอ้าท์พุตเป็นแบบ PNP หรือ NPN  รูปแบบการต่อคือเลือกจาก Common ว่าเป็นแบบใด โดยสามารถดูได้จากตารางด้านล่างเลยค่ะ

ในส่วนของสถานะการทำงานของหน้าคอนแท็ก

  • NO (Normally Open) คือ ปกติเปิด กล่าวคือหากยังไม่จ่ายไฟให้ขดลวดเหนี่ยวนำหน้าสัมผัสจะไม่ติดกัน
  • NC (Normally Close) คือ ปกติปิด การทำงานจะตรงข้ามกับปกติเปิด คือ หากยังไม่จ่ายไฟให้ขดลวดเหนี่ยวนำหน้าสัมผัสจะติดกัน
สัญลักษณ์ทางไฟฟ้า NO NC ระหว่าง สวิทซ์ไฟฟ้า กับ โซลินอยวาล์ว  ความหมายเดียวกันไหม? - Pantip

วิธีการเลือก Photoelectric Sensors

  • นำไปตรวจจับอะไร(เพื่อเลือกเซ็นเซอร์ให้เข้ากับชนิดของงาน)
  • ระยะตรวจจับเท่าไร
  • นำไปต่อกับไฟกระแสตรงหรือกระแสสลับ (AC หรือ DC)
  • Output NPN หรือ PNP
  • การทำงานของหน้าคอนแท็ก NO หรือ NC

Optex Photo Sensors

            โฟโตอิเล็กทริคเซนเซอร์ของ OPTEX จุดเด่นคือสามารถตรวจจับวัตถุที่กำลังจะผ่านและมาถึง ไม่ว่าจะเป็นวัตถุโปร่งใส หรือ ตรวจจับระยะทาง ฯลฯ โฟโตอิเล็กทริคเซนเซอร์ สำหรับบทความนี้เราจะมายกตัวอย่าง Photo Sensors ชนิด Amplifier Built-in Type กันค่ะ

  • Z4 Series

เชื่อมต่อเครือข่าย Fieldbus / IO-Link ได้อย่างง่ายดายและรองรับการเชื่อมต่อ IO-Link  สามารถต้านทานความสว่างจากไฟโดยรอบ แสงแดด และ ไฟ LED ได้ดี ไฟแสดงสถานะสัญญาณชัดเจนขึ้น สามารถมองเห็นได้ในระยะไกล

  • Z3 Series

เป็นเซ็นเซอร์มาตรฐานอุตสาหกรรมที่ระยะการตรวจจับยาวที่สุดในคลาส 25 ม. เพิ่มมุมในการตรวจจับและลดระยะเดทโซนได้ดี

  • Z2 Series

ได้ชื่อว่าเป็นเซ็นเซอร์ที่ Eco-Friendly และคุ้มค่าที่สุด กินไฟน้อยที่สุดและ มีไฟแสดงสถานะและแผงควบคุมที่มองเห็นได้ง่าย

  • ZR-X Series Retro-reflective Photoelectric sensors

มีระบบ Coaxial optical เพื่อการตรวจจับที่เสถียรยิ่งขึ้น การตรวจจับ Dead Aria เป็นศูนย์จากแผ่นสะท้อน

  • Z-M Series

กันน้ำ / กันน้ำมันได้ดี ระยะการตรวจจับที่ยาวที่สุดในคลาสทั้งหมด ระดับการป้องกัน : IP69K (cable type) เทียบเท่ากับ IP67G (connector type)

  • E Series

เป็นเซ็นเซอร์ชนิดบางพิเศษที่สามารถติดตั้งได้ทุกที่แม่ในมุมแคบ มีสายเคเบิลแบบ angled cable และแท่นติดที่ยืดหยุ่น(ระยะห่างของรูมีตั้งแต่ 8 ถึง 11 มม)

  • J Series

ตัวบอดี้กันน้ำ และ กันการสั่นสะเทือนได้ดี ผ่านการทดสอบความทนทานต่อน้ำและน้ำมัน 100 ชั่วโมง กันการสั่นสะเทือนในระดับที่สูงกว่ามาตรฐาน JIS (ระยะห่างของรูมีตั้งแต่ 10 ถึง 25.4 มม)

  • S Series

เป็นเซนเซอร์ขนาดเล็กที่สามารถติดตั้งได้ทุกที่ ตรวจจับด้วยความเร็วสูง 0.5 ms ทำให้สามารถใช้งานได้กับสายการผลิตความเร็วสูง มีขนาดเล็กพร้อมความต้านทานเสียงตามมาตรฐาน CE และ ทนต่อแรงกระแทกสูงถึง 100 G

  • C-R Series

แข็งแกร่งและทรงพลังที่ดีที่สุดในระดับเดียวกัน มีระยะตรวจจับขนาดใหญ่ ตัวเรือนเป็นโลหะทองเหลือง ตรวจจับได้ดีแม้ในระยะทางไกล

  • C2 Series

เซนเซอร์ชนิดเกลียวมาตรฐาน M18 สามารถเลือกบอดี้ได้ว่าจะเป็นโลหะหรือพลาสติก

  • V3/V4 Series

ระยะตรวจจับได้ถึง 70 ม ใช้ไฟ LED สีแดงสำหรับแหล่งกำเนิดแสง ปรับแกนแสงได้ง่ายแม้ในระยะทางไกล

  • V2 Series

เป็นซีรี่ส์ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่พร้อมคุณสมบัติระดับสูง ระยะตรวจจับ 70 ม. (แบบลำแสงทะลุ) ใช้ไฟ LED สีแดงสำหรับแหล่งกำเนิดแสง ปรับแกนแสงได้ง่ายแม้ในระยะทางไกล มีไฟที่หลากหลายชนิดและสามารถปรับได้

  • V Series

ระบบขั้วต่อ 2 ทิศทางมีประโยชน์สำหรับการติดตั้ง การตรวจจับระยะไกล เป็นประเภทที่มีตัวตั้งเวลาหน่วงเวลาเปิด / ปิดในตัว

    ทั้งนี้ทางบริษัท เจดับบลิวเทค จำกัด มีเอ็นจิเนียที่สามารถดูแลการสั่งซื้อและให้คำปรึกษาในการซื้อสินค้า เพื่อให้ตอบโจทย์ลูกค้ามากที่สุด สามารถติดต่อมาที่เซลล์ที่ดูแลอยู่ได้เลยค่ะ หรือหากยังไม่มีเซลล์สามารถติดต่อได้ที่ 02 733 7702 ได้เลยค่ะ