ความรู้

เซอร์กิตเบรกเกอร์ MCCB Mitsubishi

MCCB Mitsubishi

                MOLDED CASE CIRCUIT BREAKER (MCCB) คือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ที่หุ้มด้วยเคสแบบมิดชิด ใช้ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรและไฟฟ้าเกินพิกัด เป็นที่นิยมอย่างมากในอุตสาหกรรม เพราะ สะดวกในการใช้งานเหมาะกับการติดตั้งในตู้โหลดกลาง ทนกระแสลัดวงจรได้ดี และยังมีพิกัดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรให้เลือกใช้ตั้งแต่หลักสิบแอมป์ไปถึงหลักร้อยแอมป์ แต่แรงดันไฟฟ้าต้องไม่เกิน 1000 โวลล์  

รูปนี้คือ MOLDED CASE CIRCUIT BREAKER (MCCB) ยี่ห้อ Mitsubishi


หลักการทำงานของ MCCB Mitsubishi มี 2 วิธี คือ การตัดวงจรแบบ Automatic และ การตัดวงจรแบบ Manual

การตัดวงจรแบบ Automatic มี 3 วิธีหลักๆ คือ  Thermal-Magnetic trip , Hydraulic-Magnetic trip  , Electronic trip แต่ละวิธีทำงานแต่งต่างกันดังนี้

Thermal-Magnetic trip เป็นการตัดวงจรแบบผสมใช้ทั้งความร้อนและการเหนี่ยวนำของขดลวด มาเป็นตัวตัดวงจรไฟฟ้า เมื่อมีกระแสไหลผ่านมากเกินกำหนดจะทำให้แผ่นโลหะ bimetal (เป็นแผ่นโลหะ 2 ชนิด ที่มีคุณสมบัติ ทางความร้อนต่างกัน) งอตัวไปทำให้กลไกลการตัดวงจรทำงาน และ หากกระแสไหลผ่านมากสนามแม่เหล็กจะเกิดความเข้มข้นขึ้น พอถึงค่าๆหนึ่งจะทำให้กลไกลการตัดวงจรทำงานเช่นกัน

รูปนี้คือ หลักการทำงานแบบ Thermal-Magnetic trip

Hydraulic-Magnetic trip เป็นการตัดวงจรโดยมีขดลวดและสปริงตัดวงจร เมื่อมีกระแสไหลผ่านเกินกำหนด จะทำให้มีความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กเพิ่มขึ้นไปดึงสปริงและจะทำให้กลไกลการตัดวงจรรทำงาน ทำให้กระแสไหลผ่านไม่ได้

รูปนี้คือ หลักการทำงานแบบ Hydraulic-Magnetic trip

Electronic Trip  เป็นการตัดวงจรไฟฟ้าโดยมีการนำเอาวงจรอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ สามารถปรับค่ากระแสเกินพิกัดได้ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์จะมีไมโครโปรเซนเซอร์ช่วยวิเคราะห์ค่ากระแสไฟฟ้า หากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินพิกัดที่กำหนด ไมโครโปรเซนเซอร์จะทำหน้าที่สั่งการกลไกลการตัดวงจรไฟฟ้า ทำให้กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านได้

รูปนี้คือ หลักการทำงานแบบ Electronictrip

3 วิธีข้างต้นที่กล่าวมานี้ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินกำหนดและทำให้กลไกลตัดวงจร ตัวคันโยกจะทิปไปตำแหน่งตรงกลางระหว่าง ON และ OFF ดังรูป

รูปนี้คือ MOLDED CASE CIRCUIT BREAKER (MCCB) ยี่ห้อ Mitsubishi รุ่น NF125-CV

การตัดวงจรแบบ Manual เป็นการตัดวงจรด้วยการใช้มือหรืออุปกรณ์ ในการไปเลื่อนตัวคันโยกหน้า MCCB

MOLDED CASE CIRCUIT BREAKER (MCCB) Mitsubishi มีหลายรุ่นให้เลือกใช้ตาม ความเหมาะสม

ตารางแสดงรุ่นและโมเดลของ MOLDED CASE CIRCUIT BREAKER (MCCB) Mitsubishi

รุ่นที่นิยมใช้มากในอุตสาหกรรมคือ รุ่น NF-C (Economy class) เป็นรุ่นเล็กราคาประหยัด และใช้งานสะดวก

รูปนี้คือ NF30-CV 2P

หลักเกณฑ์การเลือกใช้งาน MOLDED CASE CIRCUIT BREAKER (MCCB) Mitsubishi

       ต้องรู้ว่าใช้ไฟฟ้ากี่เฟส จึงจะเหมาะสมกับ จำนวน Pole ที่จะใช้งานและค่าพิกัดกระแส โดยการเลือกใช้ MCCB จะต้องเหมาะสมในการใช้งาน เช่น ไฟฟ้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมหรือตึกอาคาร ควรใช้ MCCB 3-4 Pole เพราะต้องใช้กับไฟฟ้า 3 เฟส และ ที่พักอาศัยทั่วไป 1-2 Pole ใช้กับไฟฟ้า 1 เฟส จำนวน Pole แต่ละจำนวนมีความเหมาะสมและแตกต่างกัน ดังนี้

MCCB 4 Pole เหมาะกับการใช้งานกับไฟฟ้า 3 เฟส โดยมีการป้องกันสาย Line  และ สาย Neutral ระบบความปลอดภัยสูง

MCCB 3 Pole เหมาะกับการใช้งานกับไฟฟ้า 3 เฟส โดยมีการป้องกันสาย Line  

MCCB 2 Pole เหมาะกับการใช้งานกับไฟฟ้า 1 เฟส โดยมีการป้องกันสาย Line และ สาย Neutral  

MCCB 1 Pole เหมาะกับการใช้งานกับไฟฟ้า 1 เฟส โดยมีการป้องกันสาย Line

ค่าพิกัดกระแส เป็นค่าที่บอกถึงความสามารถในการทนกระแสของ MCCB แต่ละตัว โดยมี 3 ค่าหลักๆ ดังนี้

  1. Interrupting capacitive (IC) คือ พิกัดทนกระแสลัดวงจรสูงสุด
  2. Amp Trip (AT) คือ ค่าการทนกระแสที่ใช้งานในภาวะปกติ
  3. Amp Frame(AF) คือ ค่าการทนกระแสสูงสุดของเคสหุ้มอุปกรณ์

คุณสมบัติของ MOLDED CASE CIRCUIT BREAKER (MCCB) Mitsubishi รุ่น NF63-CV

  • ขนาดเฟรม AF = 63AF
  • กระแสลัดวงจร (kA) = 7.5kA (ที่230VAC) , 5kA (ที่380 VAC)
  • มี Pole ให้เลือก 2-3 Pole
  • ขนาดพิกัดกระแส = 3,4,6,10,16,20,25,32,40,50,63 AT