ความรู้

SINOVA 3WJ แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์

SINOVA 3WJ แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์

SINOVA 3WJ แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ ให้คุณสมบัติการป้องกันที่ครอบคลุมสำหับระบบจ่ายไฟฟ้าแรงต่ำที่ปลอดภัยและมั่นใจได้ อุปกรณ์ได้รับการออกแบบให้เป็นไปตามมาตรฐานล่าสุดทำให้มีความคุ้มค่าในการนำไปใช้งานด้านต่างๆ ทั้งในโครงสร้างพื้นฐาน อาคาร สาธารณูปโภค และในงานอุตสาหกรรม ทั้งในวันนี้และวันข้างหน้าตลอดอายุการใช้งาน

Simply Efficient – ความเรียบง่าย ที่มาพร้อมประสิทธิภาพ มีคุณสมบัติดังนี้

เข้ากันได้

มีรูปลักษณ์แบบมาตรฐานทั่วไปทำให้ติดตั้งใช้งานง่ายและรวดเร็ว

ครอบคลุม

สามารถรองรับได้ถึง 4000A เพื่อการใช้งานมาตรฐานในรูปแบบต่างๆ ของ

ปรับแต่งได้

มีความยืดหยุ่นเต็มที่โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกคุณสมบัติต่างๆ ที่ต้องการ  เพื่อความคุ้มค่าในประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุด

                     ACB (Air Circuit Breaker) หรือแอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ เป็นเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มเซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ (Low Voltage Circuit Breakers) สามารถดับอาร์คไฟฟ้าในอากาศจึงเรียกว่า Air Circuit Breaker ใช้สำหรับป้องกัน สายประธาน (Main Feeder) และสายป้อน (Feeder) ของระบบไฟฟ้า นิยมใช้งานเป็นเมนเบรกเกอร์สำหรับงานระบบไฟฟ้าที่ต้องการความปลอดภัยและความต่อเนื่องในการทำงาน เช่นงานแรงดันสูง (HVAC) ในโรงงาน อาคารขนาดใหญ่ ระบบส่งจ่ายไฟ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สำหรับติดตั้งในตู้ MDB หรือตู้สวิทช์บอร์ด

คุณลักษณะทั่วไป

                     ลักษณะการทำงาน เมื่อมีกระแสเกินไหลผ่านโลหะ Bimetal (เป็นโลหะ 2 ชนิดที่มีสัมประสิทธิ์ทางความร้อนไม่เท่ากัน) จะทำให้ Bimetal โก่งตัว ไปปลดอุปกรณ์ทางกลและทำให้ CB. ตัดวงจร เรียกว่าเกิดการ Trip การปลดวงจรแบบนี้ต้องอาศัยเวลาพอสมควร ขึ้นอยู่กับกระแสขณะนั้น และความร้อนที่เกิดขึ้นจนทำให้ Bimetal โก่งตัว Magnetic Unit ใช้สำหรับปลดวงจรเมื่อเกิดกระแสลัดวงจรหรือมีกระแสค่าสูงๆ ประมาณ 8-10 เท่าขึ้นไปไหลผ่าน กระแสจำนวนมากจะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กความเข้มสูง ดึงให้อุปกรณ์การปลดวงจรทำงานได้ การตัดวงจรแบบนี้เร็วกว่าแบบแรกมากโอกาสที่เบรกเกอร์จะชำรุดจากการตัดวงจรจึงมีน้อยกว่า Solid State Trip or Electronic Trip Molded Case Circuit Breaker เป็นเบรกเกอร์ชนิดหนึ่งที่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่วิเคราะห์กระแสเพื่อสั่งปลดวงจรจาก Diagram จะเห็นว่าอยู่ภายในตัวเบรกเกอร์ทำหน้าที่แปลงกระแสให้ต่ำลงตามอัตราส่วนของ CT และมี Microprocessor คอยวิเคราะห์กระแส หากมีค่าเกินกว่าที่กำหนด จะสั่งให้ Tripping Coil ซึ่งหมายถึง Solenoid Coil ดึงอุปกรณ์ทางกลให้ CB. ปลดวงจรที่ด้านหน้าของเบรกเกอร์ชนิดนี้จะมีปุ่มปรับค่ากระแสปลดวงจร เวลาปลดวงจรและอื่นๆ นอกจากนี้ยังสามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริมที่เรียกว่า Amp Meter & Fault Indicator ซึ่งสามารถแสดงสาเหตุการ Fault ของวงจรและค่ากระแสได้ทำให้ทราบสาเหตุของการปลดวงจรได้

แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Air Circuit Breaker) จะมี 2 ชนิดคือ

1.แบบติดตั้งอยู่กับที่ (Fixed Type) โดยการขันสกรูยึดติดกับเมนเบรกเกอร์ การถอดเพื่อซ่อมบำรุงจะต้องปิดสวิทช์และใช้เวลามาก และ

2.แบบถอดออกได้ (Draw out Type) ติดตั้งบนโครงล้อเลื่อนที่สามารถเลื่อนไปตามราง สะดวกและประหยัดเวลาในการซ่อมบำรุง

Air Circuit Breaker ต่างกับ MCCB (Molded Case Circuit Breakers) อย่างไร

– ACB และ MCCB Air Circuit Breaker สามารถดับอาร์คไฟฟ้าในอากาศได้เหมือนกัน แต่แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์จะมีขนาดใหญ่และสามารถเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าได้ดีกว่า

-ACB สามารถเพิ่มอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ได้ตามความต้องการเพื่อเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งานและเพิ่มสเถียรภาพในระบบไฟฟ้า ต่างจาก MCCB ที่ชิ้นส่วนทั้งหมดปรับตั้งมาจากโรงงานไม่สามารถเพิ่มอุปกรณ์ภายหลังได้

-ACB มีความแข็งแรง ทนกระแสลัดวงจรได้สูง มีค่า Icw (Rated Short-Time Withstand Current) หรือค่าที่อุปกรณ์จะทนค่ากระแสลัดวงจรได้โดยที่อุปกรณ์ไม่เสียหายได้นาน 1s (วินาที) ในขณะที่ MCCB จะทนกระแสลัดวงจรได้เพียง 10-20 ms (มิลลิวินาที)

-MCCB ไม่ต้องบำรุงรักษา เนื่องจากชิ้นส่วนทั้งหมดจะอยู่ภายใน Molded Plastic ความชื้นหรือฝุ่นจึงเข้าถึงได้ยาก ในขณะที่ ACB ต้องมีการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ