ความรู้

SINOVA 3MT7 คอนแทคเตอร์ ชนิด 3-

SINOVA 3MT7 คอนแทคเตอร์ ชนิด 3-pole

SINOVA 3MT7 คอนแทคเตอร์ ชนิด 3-pole ให้ความคุ้มค่าและความมั่นใจในการงานสวิทชิ่งรูปแบบต่าง ๆ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายครอบคลุมทั้งการนำไปใช้ในงานอุตสาหกรรมและในระบบโครงสร้างพื้นฐาน

Simply Efficient – ความเรียบง่าย ที่มาพร้อมประสิทธิภาพ มีคุณสมบัติดังนี้

มีความยืดหยุ่น

ออกแบบมาให้สามารถรองรับการทำงานกับตู้ควบคุมแบบต่างๆ

เชื่อถือได้

มั่นใจในการป้องกันมอเตอร์ ที่ได้รับทดสอบการทำงานร่วมกับโซลูชันส์ระบบจ่ายพลังงานร่วมประเภท 2 (type-2 coordinated feeder solutions) แล้ว

การออกแบบในรูปลักษณ์เดียวกัน

คอนแทคเตอร์และอุปกรณ์ส่วนควบที่ใช้งานร่วมกัน ได้รับการออกแบบให้มีรูปลักษณ์เดียวกันเพื่อความสวยงาม รองรับการใช้งานได้ถึง 95A

ปลอดภัย

ได้มาตรฐาน IEC 60947-4-1 และ IEC 60947-5-4 ตลอดจนรองรับข้อกำหนด CE และ RoHS เพื่อความมั่นใจในความปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม

              แมกเนติกคอนแทคเตอร์ (Magnetic Contactor) คือสวิทช์แม่เหล็กไฟฟ้า ทำงานโดยอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าช่วยในการเปิด-ปิดหน้าสัมผัส ในการตัด-ต่อวงจรกำลัง เช่น เปิด-ปิดการทำงานของมอเตอร์

โครงสร้างหลักของคอนแทคเตอร์ที่สาคัญ ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อใดก็ตามมีดังนี้

1.แกนเหล็ก (Core)

2.ขดลวด (Coil)

3.หน้าสัมผัส (Contact)

4.สปริง(Spring)

1.แกนเหล็ก (Core)

แกนเหล็กนี้ผลิตจากแผ่นเหล็กบางๆ นำมาวางซ้อนกันหลายๆ ชั้น โดยแผ่นเหล็กเหล่านี้จะถูกเคลือบด้วยฉนวนไฟฟ้า เพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟไหลวนในแกนเหล็ก ที่จะส่งผลให้เกิดความร้อนภายในแกนเหล็ก แกนเหล็กที่ทำหน้าเป็นทางเดินของเส้นแรงแม่เหล็ก ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

1.1แกนเหล็กอยู่กับที่ (Stationary Core)

มีขดลวดทองแดงพันรอบอยู่ และมีวงแหวนบัง (Shading Ring) ฝังอยู่บนผิวหน้าของแกนเหล็ก เมื่อทำการจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ AC เข้าไปที่ขดลวด เส้นแรงแม่เหล็กจะเปลี่ยนสลับไปมา ส่งผลให้อาร์เมเจอร์เกิดการสั่นไหวตามจังหวะการเปลี่ยนแปลงเส้นแรงแม่เหล็ก วงแหวนบัง (Shading Ring) จะทำให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็กที่ต่างเฟสกับเส้นแรงแม่เหล็กหลัก จึงสามารถช่วยลดการสั่นลงได้

1.2แกนเหล็กเคลื่อนที่ (Moving Armature)

ทำจากแผ่นเหล็กบางอันซ้อนกันเป็นแกน โดยมีชุดหน้าสัมผัสเคลื่อนที่ (Moving Contact) ยึดติดอยู่

2.ขดลวด (Coil)

ขดลวดทำมาจากทองแดง ขดลวดจะถูกพันอยู่รอบแกนเหล็กอยู่กับที่ ทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็ก โดยมีขั้วต่อไฟเข้าสัญลักษณ์ A1 – A2

3.หน้าสัมผัส (Contact)

หน้าสัมผัสของแมกเนติก คอนแทคเตอร์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

3.1หน้าสัมผัสหลัก (Main Contact)

ทำหน้าที่ตัด-ต่อกระแสไฟฟ้าในวงจรกำลัง (Power Circuit) เข้าสู่โหลด ซึ่งมีขนาดกระแสไฟฟ้าที่มากกว่า หน้าสัมผัสนี้จึงมีขนาดใหญ่กว่า แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

หน้าสัมผัสอยู่กับที่ (Stationary Contact) หน้าสัมผัสส่วนนี้จะถูกยึดติดอยู่กับโครง (Mounting) ของแมกเนติก ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เชื่อมต่อกับสายตัวนำไฟฟ้าทั้งด้านเข้าและด้านออก

หน้าสัมผัสเคลื่อนที่ (Movable Contact) หน้าสัมผัสส่วนนี้จะถูกยึดอยู่กับส่วนแกนเหล็กเคลื่อนที่ โดยมีตัวรองรับที่วัสดุเป็นฉนวนไฟฟ้าเป็นตัวยึดเข้าด้วยกัน

3.2หน้าสัมผัสช่วย (Auxilary Contact)

หน้าสัมผัสส่วนนี้มีขนาดของชุดหน้าสัมผัสเล็กกว่าหน้าสัมผัสหลัก รองรับกระแสไฟได้น้อยกว่า ถูกนำไปใช้งานในวงจรควบคุม (Control Circuit) หน้าสัมผัสชนิดนี้มีทั้งแบบติดตั้งอยู่ในตัวแมกเนติกเลย หรือแบบติดตั้งแยกต่างหากที่นำมาประกอบเข้ากับแมกเนติกเพิ่มได้ภายหลัง โดยแบบติดตั้งแยกจะได้รับความนิยมมากกว่าแบบติดตั้งอยู่ในตัว และสามารถติดตั้งได้ทั้งด้านข้างหรือด้านบนของแมกเนติก คอนแทคเตอร์ หน้าสัมผัสช่วยนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

หน้าสัมผัสปกติเปิด (Normally Open : NO)

หน้าสัมผัสปกติปิด (Normally Close : NC)

4.สปริง (Spring)

เป็นสปริงแบบชนิดสปริงกด (Pressure Spring) โดยสปริงในแมกเนติก คอนแทคเตอร์ มี 2 ชุด คือ

4.1สปริงดันแกนเหล็ก

สปริงกันแกนเหล็กหรือสปริงดันอาร์เมเจอร์ คือ สปริงที่ทำหน้าที่ดันแกนเหล็กทั้ง 2 ส่วนให้แยกจากกันเมื่อไม่มีการจ่ายไฟเข้าขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก เป็นผลให้หน้าสัมผัสแยกออกจากกัน สปริงส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่ที่สุด

4.2สปริงดันหน้าสัมผัส

คือ สปริงที่ติดตั้งอยู่กับหน้าสัมผัส (ส่วนที่เคลื่อนที่) ติดตั้งอยู่ด้านหลังของหน้าสัมผัส ทำหน้าที่คอยดันให้หน้าสัมผัสแนบสนิทกับหน้าสัมผัสส่วนที่อยู่กับที่ และเป็นตัวซึมซีบแรงกระแทกระหว่างหน้าสัมผัส เพื่อไม่ให้หน้าสัมผัสเกิดความเสียหาย