ความรู้

แมกเนติก คอนแทคเตอร์ (Magnetic Contactor)

ABB Magnetic

                แมกเนติก คอนแทคเตอร์ (Magnetic Contactor) บางครั้ง เรียกว่า แมกเนติก หรือ คอนแทคเตอร์ คือ อุปกรณ์ตัดต่อวงจรไฟฟ้า เพื่อเปิด-ปิด หน้าสัมผัสในการตัดต่อวงจรไฟฟ้า ทำหน้าที่คล้ายกับ สวิชท์ หรือ รีเลย์ แต่มีขนาดใหญ่ และทนกระแสได้มากกว่า เช่นการเปิด-ปิดระบบควบคุมปั๊มน้ำ หรือมอเตอร์ และยังใช้งานในเครื่องจักรต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรมอีกด้วย โดยส่วนใหญ่จะใช้กับมอเตอร์ที่มีขนาด 3 กิโลวัตต์ขึ้นไป

สินค้าแมกเนติค คอนแทคเตอร์

หลักการทำงานของ แมกเนติก คอนแทคเตอร์

เมื่อเราจ่ายแรงดันไฟฟ้าไปยังขดลวดจะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหนผ่านไปยังขดลวด จากนั้นจะเกิดสนามแม่เหล็กที่ขาตรงกลางของแกนเหล็ก ตัวขดลวดจะสร้างสนามแม่เหล็กที่มีความแรงกว่าแรงของสปริง จะดึงให้แกนเหล็กที่เป็นชุดเคลื่อนที่ (Moving Core) เคลื่อนที่ลงมา จะส่งผลให้ถ้าเป็นหน้าสัมผัสแบบปกติเปิด (Normally Open) เปลี่ยนสถานะเป็นการต่อวงจร และถ้าเป็นหน้าสัมผัสแบบปกติปิด (Normally Close) เปลี่ยนสถานะเป็นการตัดวงจร หากเมื่อเราหยุดจ่ายแรงดันไฟฟ้าไปยังขดลวด ก็จะทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าไปยังขดลวด จะส่งผลให้ไม่มีสนามแม่เหล็กที่แกนเหล็ก และหน้าสัมผัสจะกลับสู่สภาวะเดิม

            ดังนั้นส่วนประกอบทุกส่วนคือสิ่งสำคัญต่อการทำงานของแมกเนติค คอนแทคเตอร์เป็นอย่างมาก ถ้าเราต้องการให้แมกเนติค คอนแทคเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นล่ะก็ เราจะต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการทำงานของแมกเนติก คอนแทคเตอร์ด้วย

ส่วนประกอบของแมกเนติค คอนแทคเตอร์

แกนเหล็ก (Core)

แกนเหล็กถูกออกแบบมาโดยการใช้แผ่นโลหะบางๆ นำมาวางซ้อนกันหลาย ๆชั้ น โดยที่แผ่นโลหะทั้งหมดจะถูกเคลือบด้วยฉนวนไฟฟ้า เพื่อป้องกันไม่ให้มีกระแสไฟฟ้าไหลวนรอบแกนเหล็ก ที่จะส่งผลให้เกิดความร้อนสะสมภายในแกนโลหะ โดยแกนโลหะนั้นจะแบ่งได้ 2 ส่วนคือ

 แกนเหล็กที่อยู่กับที่ (Stationary Core)  

  1. แกนเหล็กเคลื่อนที่ (Moving Core)
  1. ขดลวด (Coil) ที่ทำมาจากลวดทองแดงที่ถูกพันอยู่รอบแกนเหล็กที่อยู่กับที่
  2. หน้าสัมผัสหลัก (Main Contact)  ทำหน้าที่ตัด-ต่อกระแสในวงจรกำลัง (Power Circuit) เข้าสู่โหลด
  3. หน้าสัมผัสช่วย (Auxiliary Contact) เป็นหน้าสัมผัสที่เล็กกว่าหน้าสัมผัสหลัก และทนกระแสไฟฟ้าได้น้อยกว่า จะถูกใช้งานในวงจรควบคุม
  4. สปริง (Spring) ดันแกนเหล็ก คือสปริงที่ทำหน้าที่ดันแกนเหล็กทั้ง 2 ส่วนให้แยกจากกันเมื่อไม่มีการจ่ายไฟเข้าขดลวด
  5. สปริงดันหน้าสัมผัส ที่ติดตั้งอยู่ด้านหลังของหน้าสัมผัส เพื่อเพื่อป้องกันไม่ให้หน้าสัมผัสเกิดความเสียหาย
แมกเนติค คอนแทคเตอร์ ABB Electric

                แมกเนติค คอนแทคเตอร์ของ ABB มีชนิดของขดลวดให้เลือก 2 แบบ คือ แบบขดลวดชนิดใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ และแบบขดลวดชนิดใช้ไฟฟ้ากระแสตรง    มีให้เลือกใช้งาน ตั้งแต่ขนาด 4 KW ถึง 30 4 KW