Miniature Circuit Breaker (MCB) โดยทั่วไปที่เข้าใจกัน จะเรียกว่า Circuit Breaker เป็นเซอร์กิตเบรกเกอร์ขนาดเล็กที่มีใช้งานทั่วไปในอาคาร ที่อยู่อาศัย ในตู้ควบคุมการทำงานของเครื่องจักร ซึ่งจะต่อด้านหลังของชุด Main circuit breaker (MCCB) ซึ่งตัวเซอร์กิตเบรกเกอร์ ทำหน้าที่ตัดต่อวงจรไฟฟ้าย่อย เมื่อเกิดมีกระแสไฟฟ้าลัดวงจร (Short circuit) หรือ วงจรนั้นมีการใช้กระแสไฟฟ้ามากกว่าตัวของเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่ได้ติดตั้งไว้ ก็จะทำการตัดวงจรไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ตัวเซอร์กิตเบรกเกอร์ ปกติแล้วจะมีค่าพิกัดกระแสลัดวงจร (IC) มีหน่วยเป็น kA ซึ่งจะมีค่าน้อยกว่า Mold Case Circuit Breaker (MCCB หรือ Main circuit breaker) ค่าพิกัดกระแสลัดวงจร (IC) ของเซอร์กิตเบรกเกอร์ ปกติจะอยู่ที่ 6kA, 10kA, 15kA และ 25kA สามารถใช้งานได้ทุกอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานระบบไฟฟ้า
รูปแสดง Miniature Circuit Breaker (MCB) ยี่ห้อ ABB
หลักการทำงานก็จะเหมือนกันตัว MOLDED CASE CIRCUIT BREAKER (MCCB) มี 3 วิธีหลักๆ คือ Thermal-Magnetic trip , Hydraulic-Magnetic trip , Electronic trip
– Thermal-Magnetic trip เป็นการตัดวงจรแบบผสมใช้ทั้งความร้อนและการเหนี่ยวนำของขดลวด มาเป็นตัวตัดวงจรไฟฟ้า เมื่อมีกระแสไหลผ่านมากเกินกำหนดจะทำให้แผ่นโลหะ bimetal (เป็นแผ่นโลหะ 2 ชนิด ที่มีคุณสมบัติ ทางความร้อนต่างกัน) งอตัวไปทำให้กลไกลการตัดวงจรทำงาน และ หากกระแสไหลผ่านมากสนามแม่เหล็กจะเกิดความเข้มข้นขึ้น พอถึงค่าๆหนึ่งจะทำให้กลไกลการตัดวงจรทำงานเช่นกัน
รูปแสดงทำงานแบบ Thermal-Magnetic trip
– Hydraulic-Magnetic trip เป็นการตัดวงจรโดยมีขดลวดและสปริงตัดวงจร เมื่อมีกระแสไหลผ่านเกินกำหนด จะทำให้มีความเข้มข้นของสนามแม่เหล็กเพิ่มขึ้นไปดึงสปริงและจะทำให้กลไกลการตัดวงจรรทำงาน ทำให้กระแสไหลผ่านไม่ได้
รูปแสดงทำงานแบบ Hydraulic-Magnetic trip
– Electronic Trip เป็นการตัดวงจรไฟฟ้าโดยมีการนำเอาวงจรอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ สามารถปรับค่ากระแสเกินพิกัดได้ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์จะมีไมโครโปรเซสเซอร์ช่วยวิเคราะห์ค่ากระแสไฟฟ้า หากกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินพิกัดที่กำหนด ไมโครโปรเซสเซอร์จะทำหน้าที่สั่งการกลไกลการตัดวงจรไฟฟ้า ทำให้กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านได้
รูปแสดงทำงานแบบ Electronictrip
3 วิธีข้างต้นที่กล่าวมานี้ เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเกินกำหนด หรือมีการลัดวงจรไฟฟ้า (short citcuitX) จะทำให้กลไกลตัดวงจร โดยตัวคันโยกจะทริปไปตำแหน่งตรงกลางระหว่าง ON และ OFF ดังรูป
รูปแสดงตัวอย่าง การทริปและการนำกลับมาอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
หลักเกณฑ์การเลือกใช้งาน เซอร์กิตเบรกเกอร์ ยี่ห้อ ABB
- ทนกระแสได้กี่แอมป์
- กี่โพล 1, 2, 3 โพล
- ค่าพิกัดกระแสลัดวงจร (IC) กี่ kA
- Curve เป็น ชนิดไหน B, C, และ D แยกได้ดังนี้
- Curve B เหมาะสำหรับใช้งานกับวงจรไฟฟ้า ที่ไม่มีกระแสไฟฟ้ากระชากเลย (Inrush Current) เช่น EV charger
- Curve C เหมาะสำหรับใช้งานกับวงจรไฟฟ้าทั่วไป ที่อาจจะมี กระแสไฟฟ้ากระชากบ้าง เช่น หลอดไฟแสงสว่าง, มอเตอร์ตัวเล็ก ๆ, เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น เหมาะสมการใช้ในตู้ควบคุมเครื่องจักร ที่พักอาศัย ระบบส่องสว่าง
- Curve D เหมาะสำหรับใช้งานกับวงจรไฟฟ้า ที่มีกระแสไฟฟ้ากระชากสูง เช่น มอเตอร์ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เครื่องเอกซเรย์ เครื่องเชื่อม เป็นต้น
ขอแนะนำเซอร์กิตเบรกเกอร์ ABB คือ รุ่น S 200
- พิกัดกระแสลัดวงจร (IC) 10kA, 15kA และ 25kA (ที่แรงดันไฟฟ้า 380VAC)
- มี Pole ให้เลือก 1 ถึง 3 Pole
- ขนาดพิกัดกระแส = 1 ถึง 63 A
และเซอร์กิตเบรกเกอร์ ABB คือ SH 200
- พิกัดกระแสลัดวงจร (IC) 6kA (ที่แรงดันไฟฟ้า 380VAC)
- มี Pole ให้เลือก 1 ถึง 3 Pole
- ขนาดพิกัดกระแส = 1 ถึง 63 A