Fiber Sensor, Fiber Amplifiers ของ OPTEX ใช้กับงานแบบไหนถึงจะเหมาะสม??
Fiber Sensor เป็นเซนเซอร์ที่ใช้ในการตรวจจับของการมีหรือไม่มีชิ้นงานลักษณะการทำงานคล้าย Photoelectric Sensor แต่ของ Fiber Sensor มีความพิเศษกว่าคือการตรวจจับสามารถชิ้นงานที่มีขนาดเล็กได้ดีกว่า ซึ่งบทความนี้จึงขอยก Fiber Sensor ของ OPTEX ที่ทางบริษัท มีจำหน่าย พร้อมบอกลักษณะการทำงานและหน้างานที้หมาะสม
- Fiber Sensor
BRF/BGF Series
คุณสมบัติ
– โพเทนชิโอมิเตอร์หมุนปรับความไวได้ง่าย ได้ 10 ระดับ สามารถปรับความไวได้ง่ายโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ จึงไม่ต้องกังวลว่าเกลียวจะเสียหายจากไขควง
– มีการตอบสนองความเร็วสูงถึง 50 μs
– มีหลอดไฟแสดงสถานะขนาดใหญ่ โดย สีส้มเป็นสถานะของ output และ สีเขียวเป็นสถานะความเสถียรของแสงขณะทำงาน เพื่อยืนยันสถานะการทำงานของเซ็นเซอร์ได้ง่ายแม้อยู่ห่างไกล
-กันน้ำได้สูง ตามมาตรฐาน IP66 ใช้งานในสภาพแวดล้อมที่เปียกชื้นได้
ขอแนะนำรุ่นหัวไฟเบอร์เซนเซอร์ที่ใช้งานร่วมกับ BRF/BGF Series ที่เหมาะแก่การทำงานในแต่ละรูปแบบ ได้แก่
1.ประเภทมาตรฐาน – ตรวจจับชิ้นงานที่มีระยะไกลที่เหมาะสมที่สุด
รุ่นที่แนะนำ BRF-N/-CN/-P/-CP
2.ประเภทตรวจจับชิ้นงานความเร็วสูง ตรวจจับวัตถุได้มากถึง 10,000 ชิ้นต่อวินาที ด้วยการตอบสนองที่รวดเร็ว 50μs รุ่นที่แนะนำ BRF-HN/-CHN/-HP/-CHP
3.ประเภทตรวจจับมาร์กสี ตรวจจับแถบสี โดยมีแหล่งกำเนิด LED สีเขียว ทำให้ตรวจจับได้ดีมากขึ้น
รุ่นที่แนะนำ BGF-N/-CN/-P/-CP
4.ประเภทติดตั้งทำงานเป็นคู่แบบทรูบีม รุ่นไฟเบอร์เซนเซอร์ที่แนะนำคือ NF-TW01 มีระยะตรวจจับสูงสุด 100 มม. เช่นงานตรวจจับระดับสารเคมีในขวดโปร่งใส (ชนิดตรวจจับน้ำ) และการตรวจจับเม็ดยา
5.ประเภทติดตั้งทำงานฝั่งเดียวตรวจจับโดยตรงกับวัตถุ รุ่นไฟเบอร์เซนเซอร์ที่แนะนำคือ NF-DW01 มีระยะตรวจจับสูงสุด 30 มม เช่น งานตรวจจับแถบกาวบนฝากล่อง และการตรวจจับตำแหน่งแถบมาร์กบนแผ่นฟิล์มใส
การเลือกรุ่นเบื้องต้นได้เองโดยการเช็คสิ่งที่ต้องการ เอ๊าทพุตที่เลือกใช้ และรูปแบบการติดตั้ง
- High Speed Digital Fiber Sensor
D3RF/D3IF Series
คุณสมบัติ
-เป็นรุ่นประหยัดและใช้งานง่ายอันดับ 1 ด้วยการตรวจจับความเร็วมากที่สุด 16 μs ในโหมดทำงานแสตนอะโลน เพราะมีหน่วยโปรเซสเซอร์ความเร็วสูงพิเศษที่พัฒนาในชื่อ “FAntron DUO” สามารถตรวจจับชิ้นงานได้มากกว่า 30,000 ชิ้นต่อวินาที พร้อมด้วยแหล่งกำเนิดแสง LED ประสิทธิถาพสูง เพื่อช่วยให้รับรู้การเปลี่ยนแปลงแต่ละระดับได้ดียิ่งขึ้น
-สำหรับหน่วยโปรเซสเซอร์ “FAntron DUO” ตัวใหม่นี้ จะปล่อยสัญญาณพัลส์แบบคู่ทั้งสั้นและยาวออกมา ซึ่งแตกต่างจากรุ่นก่อนๆ ที่ปล่อยเพียงสัญญาณพัลล์แบบเดี่ยว นอกจากนี้ การทำงานร่วมกันของ LED กำลังสูงและเลนส์ที่มีประสิทธิภาพสูง ช่วยให้ไฟเบอร์เซนเซอร์แบบตรวจจับโดยตรงกับวัตถุระยะการตรวจจับเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 3 เท่า และไฟเบอร์เซนเซอร์แบบติดตั้งเป็นคู่ระยะการตรวจจับเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 5 เท่า และยังคงความสามารถไว้ได้ แม้หน้างานจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น
– มีโหมด ECO ที่ช่วยให้ประหยัดพลังงานได้โดยการปิดหน้าจอแสดงผลทั้งสีเขียวและสีแดง
-เชื่อมต่อสะดวกยิ่งขึ้น
ส่งค่าพารามิเตอร์ผ่านการเชื่อมต่อระหว่างตัวแม่และตัวลูก สามารถต่อวางชิดติดกันได้สูงสุด 12 ยูนิต และโหมด ECOสูงสุด 16 ยูนิต
-ฟังก์ชั่นตั้งค่า Batch ของแอมฟลิฟายล์
สามารถส่งค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น Copy, Zero set หรืออื่นๆ ผ่านตัวแม่ (ฝั่งยูนิตมาสเตอร์) ไปยังตัวลูก (ฝั่งยูนิตสเลฟ) ผ่านฟังก์ชั่น Batch ได้ในครั้งเดียว
– มีรุ่นที่ตรวจจับน้ำ โดยเฉพาะ
รุ่นหัวไฟเบอร์ยูนิต D3IF-TN ที่มีแหล่งกำเนิดแสง LED อินฟราเรด (ความยาวคลื่น: 1.45 μm) เป็นแหล่งกำเนิดแสงที่ดูดซับกับหักเหของแสงผ่านตัวกลางที่เป็นน้ำได้ดี ออกแบบมาเพื่อการตรวจจับน้ำโดยเฉพาะ
– ปรับแต่งค่า Hysteresis ได้
Hysteresis สามารถปรับความกว้างได้ตั้งแต่ 1% ถึง 40% ซึ่งช่วยให้เซ็นเซอร์ได้รับการปรับให้เหมาะสมสำหรับความแตกต่างเล็กน้อยของชิ้นส่วนหรือหน้างานที่มีการสั่นสะเทือนบ่อยๆ
การเลือกรุ่นเบื้องต้นได้เองโดยการเช็คสิ่งที่ต้องการ เอ๊าทพุตที่เลือกใช้ และรูปแบบการติดตั้ง
หมายเหตุ การเลือกหัวเซนเซอร์เพื่อใช้กับตัว Amplifiers จะมาแนะนำในบทความครั้งหน้า หรือถ้าติดปํญหาหรือสงสัยสามารถติดต่อเซลล์และแจ้งความประสงค์เบื้องต้นไว้ได้เลย จะมีทางเทคนิคติดต่อกลับไปเพื่อสอบถามวัตถุประสงค์ที่จะใช้งานและแนะนำโปรดักซ์ที่เหมาะสมให้ค่ะ