ความรู้

Relay (รีเลย์)

Relay  (รีเลย์)

หลังจากที่เราได้นำเสนอรีเลย์แบรนด์ต่างๆที่ทางเจดับบลิวเทคมีจำหน่ายไปแล้วนั้น ในครั้งนี้จะขอมาลงลึกในแบรนด์ SCHNEIDER แบรนด์ชั้นนำจากฝั่งยุโรป และเป็นที่รู้จักมายาวนานและมักจะถูกเลือกนำมาใช้งานเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ประกอบตู้

ในส่วนของ SCHNEIDER  ทางเราจะมีเป็นรุ่นด้านล่างนี้ค่ะ

RXM SERIES Miniature Relay  รีเลย์ขนาดเล็ก กระทัดรัด ราคาประหยัด

จุดเด่นของรุ่น RXM SERIES มีดังนี้

 1. รีเลย์รุ่นมาตรฐานที่มีรูปแบบคอนแทค และความสามารถในการทนกระแสไฟฟ้า: สูงสุด 12 A (สำหรับรุ่น 2 คอนแทค), สูงสุด 10 A (สำหรับรุ่น 3 คอนแทค) และ สูงสุด 6 A (สำหรับรุ่น 4 คอนแทค) ให้เลือกใช้งาน

2. รีเลย์จะต้องใช้งานร่วมกับซ๊อกเกต ซึ่งจะมีรุ่นซ๊อกเกต 8 ขา, 11 ขาและ 14 ขา

3. สามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริมสำหรับการปกป้องรีเลย์ได้ (เช่น ไดโอด, วงจร RC, หรือ วาริสเตอร์) เพราะใช้งานร่วมกันกับซ๊อกเกตได้ทุกรุ่น

4. มีอุปกรณ์เสริมสำหรับป้องกันรีเลย์หลุดร่วงแบบลวดโลหะ

5. มีอุปกรณ์เสริมสำหรับป้องกันรีเลย์หลุดร่วงแบบพลาสติก

6. รุ่น 2 pole จะมี Jumper สำหรับการ short วงจรแบบบาร์ติดตั้งบนซ๊อกเกตที่มีขั้วต่อหน้าสัมผัสแยกกัน เพื่อลดความซับซ้อนของการเดินสายโดยสร้างตัวเชื่อมระหว่างขั้วคอยล์

7. คลิปยึดติดตั้งสำหรับซ๊อกเกตใช้งานได้กับทุกรุ่นซ๊อกเกต ยกเว้นรุ่น RXZE2M114

จากที่กล่าวมาเรามีจำหน่ายทั้งแบบประกอบสำเร็จแล้ว และแบบสั่งซื้อแยกระหว่างคอยด์รีเลย์ กับ ซ๊อกเกต สามารถติดต่อสอบถามกับทางฝ่ายขายได้เลยค่ะ

คุณสมบัติของคอยด์รีเลย์

1. มีปุ่มกดทดสอบการทำงานของคอนแทคแบบสปริง-รีเทิร์น โดยสีเขียวคือไฟDC   และสีแดงคือไฟ AC

2. สถานะการทำงานของรีเลย์แบบแมคคานิกส์

3. ประตูที่ต้องผลักขึ้นหากต้องการทดสอบการทำงานของคอนแทคว่าต่อใช้งานถูกหรือไม่ แบบแมนนวลไม่ต่อไฟ

4. LED แสดงสถานะการทำงานของรีเลย์

5. ป้ายชื่อกำกับของรีเลย์

6. ร่อง 4 แฉกสำหรับอะแดปเตอร์ติดตั้งรางหรืออะแดปเตอร์ยึดแผงพร้อมขายึด

7. มีรุ่นซ็อกเกตตั้งแต่รุ่น 8 ชา, 11 ขา และ 14 ขา

8. พื้นที่ส่วนที่สามารถจับได้ของอุปกรณ์

9. อะแดปเตอร์สำหรับยึดติดตั้งรีเลยแบบติดผนัง

10. อะแดปเตอร์สำหรับยึดติดตั้งรีเลยแบบเกาะรางดิน

คุณสมบัติของซ็อกเกตรีเลย์

แบ่งได้ 2 แบบคือ

ซ็อกเกตรีเลย์แบบผสม (Sockets with mixed contact terminals)  คือ  มีอินพุตผสมกับแหล่งจ่ายไฟรีเลย์ โดยเอาต์พุตจะอยู่ฝั่งตรงข้ามของซ็อกเก็ต

1. เข้าสายแบบขันน็อตยึด หรือ เข้าหางปลาก่อนขันยึด

2. มีแต่รุ่น 14 ขา เท่านั้น

3. ตำแหน่งที่สามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริมสำหรับการปกป้องรีเลย์ได้ (เช่น ไดโอด, วงจร RC, หรือ วาริสเตอร์)

4. ตำแหน่งที่สามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริมสำหรับป้องกันรีเลย์หลุดร่วงแบบลวดโลหะหรือพลาสติก

5. ตำแหน่งสำหรับติดตั้งเกาะยึดกับรางดิน

6. ตำแหน่งสำหรับติดตั้งเกาะยึดกับผนังแบบ 2 pole และ 4 pole

ซ็อกเกตรีเลย์แบบแยก (Sockets with separate contact terminals) คือ อินพุตและเอาต์พุตแยกจากแหล่งจ่ายรีเลย์

1. เข้าสายมี 2 แบบ คือ 1a คือแบบขันน็อต กับ 1b คือแบบพุท-อิน

2. มีรุ่น 8 ขา, 11ขา และ 14 ขา

3. ตำแหน่งที่สามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริมสำหรับป้องกันรีเลย์หลุดร่วงมี 2 แบบ  คือ 3a คือแบบลวดโลหะ กับ 3b คือแบบพลาสติก

4. ตำแหน่งที่สามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริมสำหรับการปกป้องรีเลย์ได้ (เช่น ไดโอด, วงจร RC, หรือ วาริสเตอร์)

5. ตำแหน่งสำหรับติดตั้งเกาะยึดกับรางดิน

6. ตำแหน่งสำหรับติดตั้งเกาะยึดกับผนังแบบ 2 pole

7. ปุ่มทดสอบการทำงาน

8. ปุ่มที่กดเพื่อถอดสายไฟออก

9. ตำแหน่งสำหรับติดตั้ง jumper ในการ short วงจรแบบบาร์

หลังจากทราบคุณสมบัติไปแล้วมาต่อที่ตารางสินค้าที่ทางเรามีจำหน่ายค่ะ ลูกค้าสามารถเลือกสินค้าได้เองเพียงดูรายละเอียดตามตารางด้านล่างนี้

จุดเด่นของ RXM SERIES  
1. ใช้งานง่าย มี LED แสดงสถานะการทำงาน และ มีปุ่ม Test การทำงาน
2. ประสิทธิภาพสูง ใช้งานได้กับทุกระบบและเครื่องจักร
3. มีย่านการทำงานให้เลือกมากมายตามความเหมาะสมของแต่ละอุตสาหกรรม
4. มีมาตรฐาน IEC, UL, EAC, CSA, RoSH และ REACH


จากที่กล่าวมา การเลือกรีเลย์ทำได้ง่ายเลยใช่มั้ยคะ เลือกกันแล้วอย่าลืมติดต่อมาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมทางเจดับบลิวเทคกันนะคะ วันนี้ขอบคุณมากๆที่มาเลือกอ่านและสนใจในสินค้าของทางเราค่ะ