สวิทต์ตรวจจับแม่เหล็ก (Sensor Switch) หน้าคอนแท็คของสวิทต์จะเป็นโลหะโดยที่สวิทต์เซนเซอร์จะถูกติดตั้งอยู่กับที่เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่มาถึงตำแหน่งที่เซนเซอร์ติดกับกระบอกลมเซนเซอร์สวิทช์จะตรวจพบแม่เหล็กที่อยู่รอบลูกสูบ เนื่องจากตรวจพบเส้นแรงแม่เหล็กจำนวนมาก เซนเซอร์สวิทช์ก็จะทำงาน ส่วนมากเซอนเซอร์สวิทช์มีOutputเป็นแบบ ON แต่จะเลือกใช้แบบ NC ก็ได้เซนเซอร์สวิทช์จะมีหน้าที่เหมือนสวิทช์ไฟฟ้าตัวหนึ่งซึ่งนำไปต่อในวงจรไฟฟ้าเพื่อควบคุมวาล์วควบคุมทิศทาง เพื่อไปควบคุมระยะหรือตำแหน่งที่จะให้ก้านสูบหยุดเคลื่อนที่หรือเคลื่อนที่ก็แล้วแต่ผู้ออกแบบ
พร็อกซิมิตี้เซนเซอร์ (PROXIMITY SENSOR) เป็นเซ็นเซอร์ชนิดหนึ่งที่ไม่ต้องสัมผัสกับชิ้นงานหรือวัตถุ ลักษณะของการทำงานคือ รับและส่งพลังงาน คือ สนามแม่เหล็ก สนามไฟฟ้า การนำเซ็นเซอร์ประเภทนี้ไปใช้งานนั้น ส่วนใหญ่จะใช้กับงานตรวจจับ ตำแหน่ง ขนาด และระดับ ซึ่งปกติแล้วจะนำมาใช้แทนลิมิตสวิตซ์ (Limit Switch) เนื่องด้วยสาเหตุของอายุการใช้งานและความเร็วในการตรวจจับที่ทำได้ดีกว่า อุปกรณ์ประเภทสวิตซ์ ซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้
1.เซ็นเซอร์แบบเหนี่ยวนำ (INDUCTIVE SENSOR) ทำงานโดยอาศัยหลักการเปลี่ยนแปลง ค่าความเหนี่ยวนำของขดลวด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะมีผลต่อชิ้นงานหรือวัตถุที่เป็น โลหะเท่านั้น
2.เซ็นเซอร์ชนิดเก็บประจุ (CAPACITIVE SENSOR) มีโครงสร้างทั้งภายนอกและภายใน คล้ายกับแบบเหนี่ยวนำขดลวด เนื่องมาจากการเคลื่อนที่ของวัตถุหนึ่งเข้ามาใกล้สนามไฟฟ้า ของCapacitive Sensorดังนั้นจึงสามารถตรวจจับอุปกรณ์ที่โลหะและอโลหะได้
ความเหมาะสมในการใช้งานในโรงงาน
Proximity Sensor เหมาะสมอย่างมากสำหรับการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับโลหะ เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก เครื่องยนต์ ยานยนต์ ไปจนถึงอุตสาหกรรมอาหารที่ใช้วัสดุประเภทโลหะและอโลหะเป็นภาชนะ เพราะจุดเด่นของ Proximity Sensor ที่สามารถประยุกต์ใช้งานได้ดีคือการทำงานร่วมกับโลหะที่สามารถตรวจจับได้แม้จะมีวัสดุอื่นๆ เช่น กล่อง หรือถุงมาขวางกั้น
การแบ่งประเภทโดยใช้สายของ Proximity Sensor
สิ่งหนึ่งที่ต้องนึกถึงในการเลือกใช้งาน Inductive Proximity Sensor นั้น คือ รูปแบบการเชื่อมต่อสัญญาณทางไฟฟ้า โดยปกติตัว Proximity sensor จะมีแบบ 2 สาย และ แบบ 3 สาย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งาน
Proximity Sensor แบบ 2 สาย
เซนเซอร์แบบ2 สาย สามารถแบ่งออกได้เป็น2ลักษณะ คือเป็นแบบไฟกระแสตรงและไฟกระแสสลับนอกจากนี้ในแต่ละกลุ่มยังมีการแบ่งแยกย่อยเป็นการทำงานปกติปิด (NC) กับ ทำงานปกติเปิด (NO) การต่อกับอุปกรณ์ต่างๆเข้ากับเซนเซอร์ประเภทนี้สามารถทำได้โดยการต่ออนุกรมเข้ากับสายเส้นใดเส้นนึ่ง
Proximity Sensor แบบ 3 สาย
เซนเซอร์แบบ 3 สาย ส่วนใหญาจะใช้กับไฟกระแสตรงมีทั้งแบบNCและNOโดยเซนเซอร์แบบ 3สายโดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ แบบที่เป็น PNP และ NPN ซึ่งแบ่งตามชนิดของทรานซิสเตอร์ที่เป็นอุปกรณ์ขยายสัญญาณที่อยู่ภายใน