ความรู้

วาล์วควบคุมอัตราการไหล (Flow control vales)

วาล์วควบคุมอัตราการไหล (Flow control vales) วาล์วทำหน้าที่ควบคุมปริมาณการไหลของลมอัดให้ไหลผ่านได้มากหรือน้อยโดยผ่านช่องแคบและเป็นวาล์วที่ควบคุมอุปกรณ์ทำงานในระบบนิวเมติกส์ให้มีการทำงานช้าหรือเร็วตามความต้องการและเพื่อให้มีการทำงานที่สะดวกและมีความปลอดภัยในการควบคุมความดันในระบบ วาล์วควบคุมอัตราการไหลสามารถแบ่งได้ตามลักษณะการทำงานได้ดังนี้

1. วาล์วควบคุมอัตราการไหลชนิดปรับการไหลได้ (Throttle valve adjustable)

2. วาล์วควบคุมอัตรการไหลทางเดียว (One way flow control valve)

3. วาล์วเร่งระบาย (Quick exhaust valve)

1.1 วาล์วควบคุมอัตราการไหลชนิดปรับการไหลได้ (Throttle valve adjustable) เป็นวาล์วที่สามารถควบคุมปริมาณลมอัดให้ไหลผ่านมากหรือน้อยจะขึ้นอยู่กับการปรับสกรูของวาล์วให้ลิ้นเปิดทางลมกว้างหรือแคบ

หลักการทำงาน  สภาวะการทำงานของวาล์วควบคุมอัตราการไหลชนิดปรับการไหลได้เมื่อมีการป้อนลมทางด้าน P1 ลมจะถูกควบคุมปริมาณลมทำให้ลมทางด้าน P2 จะมีปริมาณลมออกที่น้อยกว่าลมทางด้าน P1 ซึ่งปริมาณลมจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการปรับสกรูให้เปิดทางลมกว้างหรือแคบ

 

2.1 วาล์วควบคุมอัตรการไหลทางเดียว (One way flow control valve) วาล์วชนิดนี้จะควบคุมอัตราการไหลผ่านปกติแต่ถ้าแรงดันลมเข้ามาอีกด้สนหนึ่งจะสามารถควบคุมปริมาณการไหลของลมได้จากคุณสมบัตินี้เราสามารถนำวาล์วชนิดนี้ไปติดตั้งควบคุมการทำงานของกระบอกลมให้เคลื่อนที่ออก หรือ เคลื่อนที่เข้าให้ช้าลงได้

หลักการทำงาน  แสดงสภาวะการทำงานของวาล์วควบคุมอัตราการไหลทางเดียวเมื่อมีการป้อนลมทางด้าน P1 แรงดันลมจะไหลผ่านได้ทางเดียวไม่สามารถไหลผ่านวาล์วกันกลับได้ ดังนั้นปริมาณลมที่ออกทางด้าน P2 จะสามารถควบคุมปริมาณลมได้และเมื่อป้อนแรงดันลมเข้าทาง P2แรงดันจะสามารถไหลผ่านวาล์วกั้นทางไหล(Check valve)ดังนั้นปริมาณลมที่ออกทาง P1 จะไม่สามารถควบคุมแรงดันลมได้

3.1 วาล์วเร่งระบาย (Quick exhaust valve) วาล์วชนิดนี้เป็นวาล์วที่ควบคุมให้ลมระบายเร็วเพื่อลดแรงต้านในการเคลื่อนที่ของกระบอกลมทำให้กระบอกลมเคลื่อนที่เร็วกว่าปกติประโยชน์ของวาล์วชนิดนี้จะใช้ระบายลมออกเร็ว เช่น งานขึ้นรูปชิ้นงาน , งาน Punch รู้ชิ้นงานเป็นต้น

หลักการทำงาน แสดงสภาวะการทำงานของวาล์วเร่งระบายเมื่อมีการป้อนลมเข้าทางด้าน P แรงดันลมจะเลื่อนลิ้นวาล์วให้ปิดรู R ทำให้ลมจากรู P ไหลผ่านไปยังรู A ได้และเมื่อแรงดันลมเข้ามาทางด้านรู A แรงดันลมจะเลื่อนลิ้นวาล์วไปปิดทางด้านรู P ทำให้แรงดันลมจากรู A สามรถระบายออกทางรู R ได้อย่างรวดเร็ว