ก่อนที่เราจะคุยกันเรื่อง Magnetic Contactor ของ Schneider นั้น เรามาเริ่มกันที่การทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่า ว่าแมกเนติก คอนแทคเตอร์นั้นคืออะไร มีหลักการทำงานแบบไหนอย่างไร เหตุผลที่จำเป็นต้องใช้แมกเนติกคืออะไร ทำไมถึงต้องใช้แมกเนติก
Magnetic Contactor คืออะไร
แมกเนติก คอนแทคเตอร์ คือ อุปกรณ์ตัดต่อวงจรไฟฟ้า เพื่อเปิด-ปิด หน้าสัมผัสในการตัดต่อวงจรไฟฟ้า เช่นการเปิด-ปิดระบบควบคุมปั๊มน้ำ หรือมอเตอร์ และยังใช้งานในเครื่องจักรต่างๆในโรงงานอุตสาหกรรมอีกด้วย
หลักการทำงานของ แมกเนติก คอนแทคเตอร์
เมื่อเราจ่ายแรงดันไฟฟ้าไปยังขดลวดจะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหนผ่านไปยังขดลวด จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กที่ขาตรงกลางของแกนเหล็ก ตัวขดลวดจะสร้างสนามแม่เหล็กที่มีความแรงกว่าแรงของสปริง จะดึงให้แกนเหล็กที่เป็นชุดเคลื่อนที่ (Moving Core) เคลื่อนที่ลงมา จะส่งผลให้ถ้าเป็นหน้าสัมผัสแบบปกติเปิด (Normally Open) เปลี่ยนสถานะเป็นการต่อวงจร และถ้าเป็นหน้าสัมผัสแบบปกติปิด (Normally Close) เปลี่ยนสถานะเป็นการตัดวงจร หากเมื่อเราหยุดจ่ายแรงดันไฟฟ้าไปยังขดลวด จะทำให้ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าไปยังขดลวด จะส่งผลให้ไม่มีสนามแม่เหล็กที่แกนเหล็ก และหน้าสัมผัสจะกลับสู่สภาวะเดิม
ดังนั้นส่วนประกอบทุกส่วนคือสิ่งสำคัญต่อการทำงานของแมกเนติค คอนแทคเตอร์เป็นอย่างมาก ตุถ้าเราต้องการให้แมกเนติค คอนแทคเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นล่ะก็ เราจะต้องคำนึงถึงปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการทำงานของแมกเนติก คอนแทคเตอร์ด้วย
ส่วนประกอบของแมกเนติค คอนแทคเตอร์
- แกนเหล็ก (Core)
แกนเหล็กถูกออกแบบมาด้วยการใช้แผ่นเหล็กบางๆ นำมาวางซ้อนกันหลายๆชั้น โดยที่แผ่นเหล็กทั้งหมดจะถูกเคลือบด้วยฉนวนไฟฟ้า เพื่อป้องกันไม่ให้มีกระแสไฟฟ้าไหลวนแกนเหล็ก ที่จะส่งผลให้เกิดความร้อนสะสมภายในแกนเหล็ก โดยแกนเหล็กนั้นจะแบ่งได้ 2 ส่วนคือ
- แกนเหล็กที่อยู่กับที่ (Stationary Core)
- แกนเหล็กเคลื่อนที่ (Moving Core)
- ขดลวด (Coil) ที่ทำมาจากลวดทองแดงที่ถูกพันอยู่รอบแกนเหล็กที่อยู่กับที่
- หน้าสัมผัสหลัก (Main Contact) ทำหน้าที่ตัด-ต่อกระแสในวงจรกำลัง (Power Circuit) เข้าสู่โหลด
- หน้าสัมผัสช่วย (Auxiliary Contact) เป็นหน้าสัมผัสที่เล็กกว่าหน้าสัมผัสหลัก และทนกระแสไฟฟ้าได้น้อยกว่า จะถูกใช้งานในวงจรควบคุม
- สปริง (Spring) ดันแกนเหล็ก คือสปริงที่ทำหน้าที่ดันแกนเหล็กทั้ง 2 ส่วนให้แยกจากกันเมื่อไม่มีการจ่ายไฟเข้าขดลวด
- สปริงดันหน้าสัมผัส ที่ติดตั้งอยู่ด้านหลังของหน้าสัมผัส เพื่อเพื่อป้องกันไม่ให้หน้าสัมผัสเกิดความเสียหาย
แมกเนติค คอนแทคเตอร์ของ Schneider
แมกเนติค คอนแทคเตอร์ของ Schneider มีชนิดของขดลวดให้เลือก 2 แบบ คือ แบบขดลวดชนิดใช้ไฟฟ้ากระแสสลับ(AC) และแบบขดลวดชนิดใช้ไฟฟ้ากระแสตรง(DC)
มีให้เลือกใช้งาน 2 Series คือ
- TeSys D Series เป็นรุ่นที่ยอดนิยมที่สำหรับมอเตอร์ตั้งแต่ 4 – 75kW หรือ 5.5 – 100Hp
ยกตัวอย่างเช่น
Model | Pole | Current @440Vac, AC-3 | kW | HP | Aux. |
LC1D09M7 | 3P | 9A | 4kW | 5.5 | 1NO+1NC |
LC1D12M7 | 3P | 12A | 5.5kW | 7.5 | 1NO+1NC |
LC1D18M7 | 3P | 18A | 7.5kW | 10 | 1NO+1NC |
LC1D25M7 | 3P | 25A | 11kW | 15 | 1NO+1NC |
LC1D32M7 | 3P | 32A | 15kW | 20 | 1NO+1NC |
LC1D40AM7 | 3P | 40A | 18.5kW | 25 | 1NO+1NC |
LC1D50AM7 | 3P | 50A | 22kW | 30 | 1NO+1NC |
LC1D65AM7 | 3P | 65A | 30kW | 40 | 1NO+1NC |
LC1D80M7 | 3P | 80A | 37kW | 50 | 1NO+1NC |
LC1D95M7 | 3P | 95A | 45kW | 60 | 1NO+1NC |
LC1D115M7 | 3P | 115A | 55kW | 75 | 1NO+1NC |
LC1D150M7 | 3P | 150A | 75kW | 100 | 1NO+1NC |
- TeSys F Series เป็นรุ่นสำหรับมอเตอร์ ตั้งแต่ 55 – 450kW หรือ 75 – 610Hp
ยกตัวอย่างเช่น
Model | Pole | Current @440Vac, AC-3 | kW | HP | Aux. |
LC1F115M5+LADN22 | 3P | 115A | 55kW | 75 | 2NO+2NC |
LC1F150M5+LADN22 | 3P | 150A | 75kW | 100 | 2NO+2NC |
LC1F185M5+LADN22 | 3P | 185A | 90kW | 125 | 2NO+2NC |
LC1F225M5+LADN22 | 3P | 225A | 110kW | 150 | 2NO+2NC |
LC1F265M7 | 3P | 265A | 132kW | 180 | 2NO+2NC |
LC1F330M7 | 3P | 330A | 160kW | 220 | 2NO+2NC |
LC1F400M7 | 3P | 400A | 200kW | 270 | 2NO+2NC |
LC1F500M7 | 3P | 500A | 250kW | 340 | 2NO+2NC |
LC1F630M7 | 3P | 630A | 335kW | 450 | 2NO+2NC |
LC1F780M7 | 3P | 780A | 400kW | 530 | 2NO+2NC |
LC1F800MW | 3P | 800A | 450kW | 610 | 2NO+2NC |