ความรู้

Photoelectric sensor Panasonic

Photoelectric sensor Panasonic

          โฟโต้อิเล็กทริคเซ็นเซอร์ (Photoelectric sensor) คือ เซ็นเซอร์ประเภทหนึ่งที่ทำการตรวจจับด้วยแสง แบบไม่มีการสัมผัสตัววัตถุ มีขนาดตัวเล็กและใช้งานได้สะดวก สามารถตรวจจับวัตถุชิ้นงานเล็กที่ขนาด 0.1 มิลลิเมตร และตรวจจับวัตถุระยะไกลสุดได้ถึง 40 เมตร (ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อ) นิยมใช้งานในอุตสาหกรรมการผลิต เช่น ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น หากพื้นที่มีฝุ่นมาก อาจจะไม่เหมาะกับการใช้งานของเซ็นเซอร์ประเภทนี้เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

รูปนี้คือ Photoelectric sensor ของ Panasonic

หลังการทำงานของโฟโต้อิเล็กทริคเซ็นเซอร์(Photoelectric sensor)

                โฟโต้อิเล็กทริคเซ็นเซอร์(Photoelectric sensor) จะมี ตัวส่งและตัวรับเรียกว่า Emitter กับ Receiver  ตัวEmitter เป็นตัวส่งแสงและในตัว Emitter จะมีแหล่งกำเนิดแสงเพื่อส่งไปยังตัวรับ โดยแสงสามารถจำแนกได้ 2 ประเภท คือ แสงเลเซอร์ กับ แสงLED เมื่อส่งแสงไปยังตัวรับ แล้วตัวรับจะทำการรับค่าหรือส่งแสงกลับมา ขึ้นอยู่กับตัวรับ จะเป็นตัวเซ็นเซอร์หรือแผ่นสะท้อน  โดยสามารถจำแนก โฟโต้อิเล็กทริคเซ็นเซอร์(Photoelectric sensor) ได้ 3 ประเภท

  1. Through-beam เซ็นเซอร์ประเภทนี้จะมีตัวส่งและตัวรับ อยู่ตรงข้ามกัน โดยเซ็นเซอร์จะทำการตรวจจับวัตถุที่เคลื่อนที่ผ่านหากมีวัตถุผ่านระหว่างตัวส่งและตัวรับ จะทำให้แสงไม่สามารถส่งไปถึงตัวรับได้ จึงทำให้ตัวรับบอกสถานะของเซ็นเซอร์ได้ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้งาน Output (Light ON, Dark ON) ระยะตรวจจับของเซ็นเซอร์ชนิดนี้จะตนวจจับได้ไกลสุดเมื่อเทียบกับชนิดอื่นๆ
  1. 2. Retro-reflective เซ็นเซอร์ชนิดนี้จะมีตัวส่งและตัวรับอยู่ฝั่งเดียวกัน และจะมีแผ่นสะท้อน โดยอาศัยตัวส่ง (Emitter) ส่งแสงไปตกกระทบแผ่นสะท้อนและสะท้อนแสงกลับมา หากมีวัตถุมีขวาง จะทำให้ ตัวรับไม่สามารถรับแสงได้ และจำทำให้เซ็นเซอร์ตรวจรู้ สามารถเลือก Output ให้เหมาะสมในการใช้งานได้
  1. 3. Diffuse เซ็นเซอร์นี้จะมีตัวส่งและรับในฝั่งเดียวกัน แต่ไม่มีแผ่นสะท้อน อาศัยการสะท้อนแสงจากวัตถุ โดยจะส่งแสงออกไปตกกระทบกับวัตถุแล้ววัตถุจะสะท้อนแสงกลับมายังตัวรับ มีระยะการตรวจจับใกล้ที่สุดเมื่อเทียบกับชนิดอื่นๆ

เป็นประเภทที่นิยมใช้มากสุดเพราะ สะดวกในการติดตั้ง

การเลือกใช้งานโฟโต้อิเล็กทริคเซ็นเซอร์(Photoelectric sensor)

            การเลือกใช้งานโฟโต้อิเล็กทริคเซ็นเซอร์ (Photoelectric sensor) จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะงานเพื่อให้เซ็นเซอร์ทำงานตรวจจับวัตถุได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเราเลือกชนิดผิดไม่เหมาะสมกับงาน อาจจะทำให้ได้รับความผิดพลาดในการตรวจจับงานนั้นๆ โดยต้องคำนึงถึงลักษณะดังนี้

  • ลักษณะงานที่จะใช้เซ็นเซอร์ไปตรวจจับ
  • สภาพแวดล้อมในการทำงานหากมีฝุ่นมากและอุณหภูมิสูงหรือต่ำ จะทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการตรวจจับ

โดย Through-beam เหมาะสมกับงานประเภทตรวจจับระยะไกล วัสดุสินค้าที่มีขนาดใหญ่

       Retro-reflective เหมาะกับงานประเภทตรวจจับวัตถุจำเพาะ พื้นผิวขรุขระ หรือ มันวาว

       Diffuse เหมาะกับงานประเภทชิ้นเล็กน้อยเพราะต้องใช้ระยะในการตรวจจับสั้น

    รูปนี้คือ โฟโต้อิเล็กทริคเซ็นเซอร์(Photoelectric sensor) รุ่น CX-400

คุณสมบัติของโฟโต้อิเล็กทริคเซ็นเซอร์(Photoelectric sensor) รุ่น CX-400

  • สามารถตรวจจับวัตถุ ทึบแสง,โปร่งแสงหรือมันวาว,โปร่งใส
  • สามารถปรับระยะตรวจจับได้
  • มีเอาท์พุททั้งแบบ NPN/PNP ให้เลือกใช้
  • เลือก Light-ON/Dark-ON ได้
  • ความเร็วในการตรวจวัด 1 มิลลิวินาทีหรือต่ำกว่านั้น
  • สามารถทำงานในที่สภาพแวดล้อมอุณหภูมิ -25 ถึง 55 องศาเซลเซียส
  • มี LED แสดงสถานะในการทำงาน
  • มีมาตรฐานป้องกันฝุ่นและน้ำ IP67

ยกตัวอย่างเช่น

  1. Through-beam แบบมีตัวรับและตัวส่ง แยกอิสระกัน ได้แก่รุ่น

CX-411, CX-412 และ CX-413 ระยะการตรวจจับ 10, 15 และ 30 เมตร ตามลำดับ

  • Retro-reflective แบบใช้แผ่นสะท้อนแสง ได้แก่รุ่น

CX-491, CX-491 ระยะการตรวจจับ 3 และ 5 เมตร ตามลำดับ เหมาะสำหรับใช้งานทั่วไป

CX-481, CX-482, CX-483 ระยะการตรวจจับ 0.5, 1 และ 2 เมตร ตามลำดับ เหมาะสำหรับใช้ตรวจจับงานโปร่งแสงหรือโปร่งใส

  • Diffuse แบบมีตัวรับตัวส่งในตัวเดียวกัน ได้แก่รุ่น

CX-421, CX-422, CX-423 ระยะการตรวจจับ 100, 300 และ 800 มิลลิเมตร ตามลำดับ (ไม่เหมาะกับชิ้นงานสีดำ)