ความรู้

ประตูน้ำ (Gate Valve) ถูกออกแบบมาให้ใช้งานเพื่อตัดตอน (Isolating valve)

ประตูน้ำ (Gate Valve) ถูกออกแบบมาให้ใช้งานเพื่อตัดตอน (Isolating valve)

มีลิ้นเหมือนประตู ใช้ในการเลื่อนขึ้น เลื่อนลง เพื่อปิด-เปิด การไหลเท่านั้น ไม่นิยมนำมาใช้ในงานควบคุมการไหล หรือการเปิดแบบหรี่ หรือเปิดไม่สุด ปิดไม่สุด

ชิ้นส่วนประกอบของประตูน้ำ (Gate Valve)

Gate valve testing and maintenance – AMARINE

ลักษณะการประกอบของวาล์วในแบบต่างๆกัน

Bolted Bonnets
Welded
Screwed Bonnet
Union Bonnet

ชิ้นส่วนที่ทำหน้าที่เป็นลิ้น (Wedge / Disc)

โดยทั่วๆ ไปลิ้นจะเป็นลิ่มตัน (Solid Wedge) พร้อมทั้งมีร่องลิ้น (หรือร่องประตู) เอียง (Incline seat) แบบนี้เมื่อใช้ไปนานๆ จะสึกได้ ทำให้เปิดไม่สนิท ถ้าใช้ลิ้นที่มีความยืดหยุ่นได้ (Flexible wedge) โดยทำเป็นรูปโครงสร้างแบบตัว “H” หรือ ตัว“n” (ยูคว่ำ) ก็สามารถลดอัตราการสึกกร่อนไปได้ และไม่ต้องคำนึงถึงว่าลิ้นจะสอดปิดตรงแนวหรือไม่ ลิ้นที่เป็นแบบลิ่มยังมีอีกแบบคือ แบบแยกลิ่ม  ชิ้นหนึ่งจะเป็นครึ่งทรงกลมนูนออกสวมอยู่ใช้กับงานความดันต่ำสามารถปิดได้สนิทดี ทนทานเพราะคล่องตัวในการเคลื่อนที่

 Solid Wedge / Flexible Wedge  / Split Wedge  /  Parallel Side Wedge

        ชิ้นส่วนที่ไปเปิด-ปิดลิ้น (Stem)

ชิ้นส่วนที่ไปเปิดปิดลิ้นก็คือ ก้านวาล์ว Stem) นั่นเอง ปลายก้านวาล์วข้างหนึ่งจะจับลิ้นอีกข้างหนึ่งยื่นออกมาติดกับส่วนที่ใช้หมุน (Hand Wheel) รูปแบบของเม็คแคนิซึมก็มีหลายแบบด้วยกัน โดยทั่วไปมี 2 แบบนิยมออกแบบกัน เท่าที่เห็นในรูปที่ ทางขาวสุดเป็นแบบสกรูของก้านวาล์วอยู่ภายใน (Inside Screw) ที่หมุน (Hand Wheel) จะขันแน่นติดกับลิ้น ดังนั้นเวลาเปิด-ปิดวาล์ว ก้านวาล์วจะหมุนจะเคลื่อนที่อยู่กับที่ สกรูจะดึงลิ้นขึ้นมา  ถัดมาเป็นแบบสกรูของก้านวาล์วอยู่ภายนอก แต่สกรูจะไปขันติดกับวาล์ว ก้านวาล์วหมุนเคลื่อนที่ขึ้น เวลาเปิด-ปิดจึงมีก้านและลิ้นที่เคลื่อนที่ขึ้นลง แบบนี้นิยมใช้ แบบสกรูภายนอกก็มีประโยชน์ตรงที่สามารถหล่อลื่นได้สะดวก และเกลียวไม่ถูกกัดกร่อนจากของไหลภายในวาล์ว

เกทวาล์วสามารถแบ่งตามประเภทการเคลื่อนที่ของก้านวาล์วเมื่อมีการ เปิด-ปิด ได้เป็น 2 ประเภท

  – แบบ Rising Stem หรือ Rising Spindle (แบบก้านวาล์วเลื่อนขึ้น) และแบบ Non-rising stem

  – แบบ Fixed Spindle (แบบก้านวาล์วคงที่) ซึ่งจะไม่มีก้านวาล์วยื่นออกมาเมื่อเปิดเกทวาล์ว

           Outside Screw and Yoke (OS&Y)                   Inside Screw (Non-Rising Stem)

ระบบกันซึม (Sealing Methods)
          ประตูน้ำจะต้องมีการป้องกันการซึม 4 จุดด้วยกัน 3 จุดแรก จะกันของเหลวออกนอกวาล์วคือ ที่ข้อต่อระหว่างตัววาล์วกับบอนเน็ท (Bonnet ก็คือตัวที่ยึดก้านวาล์ว) 2 จุด และอีกจุดคือ ที่ซึ่งออกจากก้านวาล์ว จุดที่เหลือคือ ที่ลิ้นของวาล์ว
          ลักษณะของบอนเน็ทมีหลายแบบด้วยกัน  แบบยูเนี่ยนและสกรูบอนเน็ทมักใช้กับวาล์วตัวเล็กแบบโบล์ทบอนเน็ทใช้กับวาล์วตัวใหญ่ แบบเพรสเชอร์ซีลใช้กับความดันและอุณหภูมิสูง
          การกันรั่วที่ลิ้นมี 2 แบบด้วยกันคือ ระหว่างโลหะต่อโลหะ และระหว่างโลหะกับวัสดุหยุ่น แบบระหว่างโลหะต่อโลหะจะมีความแข็งแรง แต่เมื่อใช้ไปสักพักผิวสัมผัสระหว่างหน้าโลหะจะเสีย ใช้การไม่ได้ แต่ถ้ามีการใช้โลหะที่มีความแข็งต่างกัน ก็ลดการสึกหรอได้บ้าง สำหรับแบบโลหะต่อวัสดุหยุ่นนั้นใช้กับอุณหภูมิสูงมากๆ ก็ไม่ได้

                   Disc Sealing                        Stem Sealing

ลักษณะอื่นๆ
          ประตูน้ำมีข้อเสียตรงที่มีน้ำหนักมากและกินที่มากจนต้องการที่รองรับน้ำหนักด้วย (ถ้าจำเป็น) การติดตั้ง และซ่อมบำรุงยากลำบาก

สนใจสั่งซื้อ Kitz valve หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

info@jwtech.co.th

โทร. 02-733-7702