ความรู้

หลักการเลือก Proximity Sensors ใครว่ายาก??

           คำถามน่าปวดหัวสำหรับเอ็นจิเนียหลายท่าน เมื่อต้องการ Proximity Sensors ดีๆสักตัว แต่เลือกแล้วเลือกอีก ว่าจะใช้ตัวไหนดีที่เหมาะกับหน้างานนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็น ขนาดเกลียว ระยะตรวจจับ Output แบบ NPN หรือ PNP และ สถานะการทำงานของหน้าคอนแท็ก NO หรือ NC หรือแม้กระทั่งความแตกต่างของแต่ละแบรนด์แต่ละยี่ห้อว่าสามารถเทียบกันหรือใช้ตัวอื่นๆแทนตัวเดิมที่เลิกผลิตไปแล้วได้หรือไม่ วันนี้เราจะมาตอบคำถามนั้นกัน แต่ก่อนอื่นเรามาอธิบายในส่วนของ Proximity Sensors กันแบบคร่าวๆก่อนนะคะ และในวันนี้ทางเจดับบลิวเทคจะมาคลายข้อสงสัยของหลายๆท่านกันค่ะ

ก่อนอื่นเราต้องมาทราบกับก่อนว่า Proximity Sensors แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ

  • Inductive Proximity Sensor (เซนเซอร์แบบเหนี่ยวนำ) เหมาะสำหรับงานที่นำไปจับ “โลหะ” เพราะ สร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้จะมีความสามารถตรวจจับวัตถุที่เป็นโลหะหรือมีส่วนประกอบของโลหะโดยเฉพาะ
  • Capacitive Proximity Sensor (เซนเซอร์ชนิดเก็บประจุ) เหมาะสำหรับตรวจจับวัตถุที่สามารถตรวจจับวัตถุที่เป็น “โลหะและอโลหะ”  เพราะ  Capacitive ใช้หลักการเปลี่ยนแปลงของค่าคาปาซิแตนซ์ โดยการสร้างสนามไฟฟ้าสถิตย์

            เมื่อเราแยกประเภทของ Proximity Sensors ได้แล้ว ต่อมาสิ่งที่สำคัญที่สุดในการเลือก คือ “ระยะตรวจจับ” ระหว่างเซ็นเซอร์และชิ้นงาน ต่อมาคือ

ขนาดของเกลียว โดยขนาดเกลียว มีตั้งแต่ M12x1, M18x1, M30 x1.5 สามารถเลือกได้ตามความเหมาะสมของหน้างานค่ะ

ต่อมาคือแบบหัวเรียบ และ หัวยื่น ต่างกันคือ

  • แบบ Shield/Flush หรือ แบบหัวเรียบ  คือ จะตรวจจับยื่นออกด้านหน้า ทำให้ตรวจจับได้เข้มข้นมากขึ้น
  • แบบ Non-Shielded หรือ Non- Flush หรือหัวยื่น คือ ตรวจจับทั้งด้านข้างและด้านหน้า

ทั้งสองชนิดสามารถเลือกตามการใช้งานทั้งสิ้น

สิ่งต่อมาที่ต้องทราบคือ Output

เอาท์พุตเป็นแบบ PNP หรือ NPN  รูปแบบการต่อคือเลือกจาก Common ว่าเป็นแบบใด โดยสามารถดูได้จากตารางด้านล่างเลยค่ะ

ในส่วนของสถานะการทำงานของหน้าคอนแท็ก

  • NO (Normally Open) คือ ปกติเปิด กล่าวคือหากยังไม่จ่ายไฟให้ขดลวดเหนี่ยวนำหน้าสัมผัสจะไม่ติดกัน
  • NC (Normally Close) คือ ปกติปิด การทำงานจะตรงข้ามกับปกติเปิด คือ หากยังไม่จ่ายไฟให้ขดลวดเหนี่ยวนำหน้าสัมผัสจะติดกัน
สัญลักษณ์ทางไฟฟ้า NO NC ระหว่าง สวิทซ์ไฟฟ้า กับ โซลินอยวาล์ว  ความหมายเดียวกันไหม? - Pantip

Omron Proximity Sensor

            Omron แบรนด์จากญี่ปุ่น เมื่อกล่าวถึงชื่อ Omron จากประสบการณ์ของผู้ใช้ แน่นอนว่าหลายท่านพูดเป็นเสียงเดียวกันในความคงทนและที่สำคัญยังมีหลากหลายรุ่นและหลากหลายระยะตรวจจับให้เลือกใช้ วันนี้เราจะมายกตัวอย่างหนึ่งซีรีส์ที่นิยมอย่างมากกันค่ะ

  • E2E     ซีรีส์นี้ จุดเด่นคือ หัวเซ็นเซอร์ทำจากโลหะ เป็นซีรีส์มาตรฐานเหมาะสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย สำหรับ E2E ทำออกมาให้มีความถี่ต่างกัน เพื่อไม่เป็นการรบกวนสัญญาณซึ่งกันและกัน  ทั้งสายและตัวหัวจับออกแบบมาให้ทนต่อการกัดกร่อนจากน้ำมันได้ดี

ทั้งนี้ลูกค้าสามารถเลือกชนิดตามแต่หน้างานที่เหมาะสมกับลูกค้าได้ และลูกค้าสามารถสอบถามสินค้า Sensor Omron มาทาง JWTECH ได้เลยค่ะ